วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2550

สรุปบทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

สรุปบทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การมื่อสารข้อมูลประกอบไปด้วยผู้ส่งข้อมูลที่มีหน้าที่ส่งข้อมูลไปให้ผู้รับข้อมูล โดยใช้โปรโตคอล หรือเรียกว่าข้อมูลไปให้ผู้รับรู้ข้อมูล โดยใช้โปรโตคอล หรือเรียกว่าข้อกำหนดที่ใช้ร่วมกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะมีอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อคือ โมเด็ม เนื่องจากคอมพิวเตอร์รับ - ส่งสัญญาณแบบดิจิทัล ในขณะที่สายโทรศัพท์เป็นสัญญาณแบบแอนะล็อก โมเด็มจึงมีหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลที่ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อกและส่งผ่านสายโทรศัพท์ได้ ในทางกลับกันโมเด็มก็ต้องทำหน้าที่แปลงสัญญาณที่เป็นรูปแบบแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิทัลได้ด้วย
ทิศทางในการรับและส่งข้อมูลมี 3 รูปแบบ คือ 1)การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว 2)การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน และ 3)การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน โดยมีตัวกลางที่ใช้เป็นสื่อนำการสื่อสาร 2 ประเภทคือ 1)สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย ได้แก่ สายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล และสายใยแก้วนำแสง และ 2)สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย ได้แก่ แสงอินฟราเรด สัญญาณวิทยุ ไมโครเวฟภาคพื้นดิน และสัญญาณดาวเทียม
การที่จำมำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการเช่น ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยเชื่อมต่อมีจำนวนมากเกินไป จะทำให้ประสิทธิภาพของการสื่อสารตำลง ส่วนสื่อที่ใช้ในการนำข้อมูล ก็ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานและสภาพแวดล้อม กอรปกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในเครื่อข่ายของการสื่อสารก็จะต้องมีความสมบูรณ์ไม่มีส่วนใดชำรุด และประการสุดท้ายจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลในการสื่อสารแต่ละครั้งด้วยจึงจะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
ลักษณะของโครงสร้างที่ใช้ในการสื่อสารบนเครือคข่ายคอมพิวเตอร์มีหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีข้อดและข้อเสียแตกต่างกัน เช่น โครงสร้างเครือข่ายแบบบัส และโครงสร้างเคือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน จ ะมีข้อดีคือใช้สายสัญญาณน้อยทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ข้อเสียคือถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะส่งผลต่อการสือสารด้วยถ้าต้องการใช้งานได้ตามปกติต้องตัดเครื่องที่ชำรุดออกจากระบบไป ส่วนโครงสร้างเครื่อข่ายแบบดาว มีข้อดีคือ ถ้าต้องการต่อเชื่อมเครื่องใหม่ก็ทำง่ายโดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบหรือหากมีเครื่องเสียก็ยังทำงานต่อได้ ข้อเสียจะอยู่ที่หัวใจของโครงสร้างนั่นคือ ฮับ เพราะถ้าหากฮับไม่ทำงานก็จะทำให้ทุกเครื่องไม้สามารถทำงานต่อได้นั่นเอง โครงสร้างอีกลักษณะหนึ่งที่มีข้อดีก็คือโครคงสร้างแบบเมช คือสามารถส่งข้อมูลได้อย่างอิสระทำให้ส่งข้อมุลได้อย่างรวดเร็ว แต่ข้อเสียคือค่าใช้จ่ายสูงมาก และโครงสร้างแบบสุดท้ายคือ โครงสร้างเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์แบบผสม เป็นการผสมรวมระหว่างโครงสร้างทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ได้เครื่อข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการสื่อสาร




จัดทำโดย นาย นิวัฒน์ ก๋าใจ 49324228

ข่าวสารสนเทศ03

มือถือแอลจีกล้อง 5 ล้านพิกเซล
แอลจีวิวตี้มาไทยแล้วหลังขายดีติดอันดับในเกาหลีกล้อง 5 ล้านพิกเซล พร้อมเลนส์ชไนเดอร์ที่มีฟังก์ชันภายในไม่แพ้กล้องของมืออาชีพ

มือถือแอลจีกล้อง 5 ล้านพิกเซล

มร.ซอง นัก กิล กรรมการผู้จัดการบริษัทแอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้สัมภาษณ์ว่า ถึงแม้ว่าโทรศัพท์มือถือแอลจีจะยังเป็นน้องใหม่ในตลาดเมืองไทย มีอายุเพียง 4 ปี แต่เทคโนโลยีการผลิตมือถือระบบจีเอสเอ็มก็พัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช็อกโกแลตโฟน ซึ่งประสบความสำเร็จในตลาดเมืองไทยและทั่วโลก หลังจากนั้นก็มีพราด้า โฟน

ส่วนแอลจี วิวตี้ นั้นเป็นการพัฒนาต่อเนื่องมาจากแอลจี พรา ด้า โฟน เพราะจากข้อมูลของผู้บริโภคพบว่าต้องการโทรศัพท์มือถือที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับถ่ายภาพและฟังเพลง ขณะนี้แอลจี วิวตี้เป็นโทรศัพท์มือถือที่กำลังได้รับความนิยมมากในเกาหลี และก็มั่นใจว่าจะได้รับความนิยมในเมืองไทย ในกลุ่มลูกค้าระดับบน คาดว่าจะขายได้ประมาณ 10,000 เครื่อง ตลอดปี 2550 แอลจีขายโทรศัพท์มือถือในเมืองไทยได้ประมาณ 6 แสนเครื่อง คาดว่าปีหน้าจะมียอดขายรวมประมาณ 1 ล้านเครื่อง

สำหรับแอลจี วิวตี้ เป็นโทรศัพท์มือถือจอแอลซีดีระบบสัมผัส แบบทัชสกรีน กล้องชไนเดอร์ 5 ล้านพิกเซล ISO 800 หน่วยความจำในตัวเครื่อง 100 Mb และรองรับหน่วยความจำภายนอกได้สูงสุดถึง 2 Gb รองรับเครือข่าย 3G และ HSDPA ราคา 17,900 บาท.



ที่มาhttp://www.norsorpor.com/go2 วันที่ 5/12/50
จัดทำโดย นาย นิวัฒน์ ก๋าใจ 49324228

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2550

คำถามบทที่ 3

1.จากภาพที่กำหนดให้ จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่าง
1) ฐานข้อมูล( Database) เป็นการจัดเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูลจะอยู่ในรูปของแฟ้มเอกสารที่จัดเป็นหมวดหมู่ ตัวอย่างเช่น ฐานข้อมูลบุคคล ฐานข้อมูลงานขาย ฐานข้อมูลการผลิตเป็นต้น
2) คลังข้อมูล (Data Warehouse) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง และหลากหลายชนิดเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ETL
3) ดาต้ามาร์ท(Data Mart) คลังข้อมูลขนาดเล็กที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงมากว่าสำหรับใช้งานในองค์การธุรกิจ ตัวอย่างเช่น
4) ดาต้าไมนิ่ง (Data Mining)เป็นเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการสกัดข้อมูลในเชิงวิเคราะห์
5) การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ การประมวลผลข้อมูลในคลังข้อมูลมักจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลในปริมาณมากๆและข้อมูลหลายมิติ ตัวอย่างเช่น

2.จงอธิบายถึงประโยชน์ของคลังข้อมูลที่มีต่อพนักงานปฏิบัติการขององค์การ
-เก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งและหลากหลายชนิดเข้าดวยกัน เข้าเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์การ โดยข้อมูลในคลังข้อมูลอาจได้มาจากฐานข้อมูลของระบบปฎิบัติการในองค์การ และฐานข้อมูลจากแหล่งภายนอกองค์การ

3.ธุรกิจอัจฉริยะ หรือ Business intelligence คืออะไร และมีการนำไปใช้งานอะไร
-การใช้ข้อมูลขององค์การที่มีคุณค่ามาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการดำเนินงานของธุรกิจ
นาไปใช้งานการสนับสนุนการตัดสินใจ การคิวรีการรายงาน การประเมินผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์

4.จงยกตัวอย่างประยุกต์ใช้ดาต้าไมนิ่งในธุรกิจอื่นๆ ที่ยังไม่ได้กล่าวถึงมนบทนี้มาอย่างน้อย 3ตัวอย่าง
-ร้านขายเฟอร์นิเจอร์
-ร้านขายเสื้อผ้า
-ร้านขายโทรศัพท์

5.จากปัญหาของแฟ้มข้อมูลที่ได้กล่าวในตอนต้นของบทนี้ ท่านคิดว่าคลังข้อมูลและดาต้าไมนิ่งช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไร
-ในการรวบรวมข้อมูลนั้นมาประมวลผลข้อมูลในเชิงวิเคราะห์ขั้นสูงจากฐานของมูลขนาดใหญ่





จัดทำโดย นายนิวัฒน์ ก๋าใจ 49324228

กรณีศึกษา: ระบบข้อมูลของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

กรณีศึกษา: ระบบข้อมูลของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

1. ฐานข้อมูลกลางของคนไข้ที่โรงพยาบาลจัดเก็บสามารถนำมาวิเคราะห์โดยใช้ดาต้าไมนิ่งได้อย่างไรบ้าง
- พยากรณ์คนไข้ตรวจดูอาจการ แล้วก็เก็บประวัติ
- ค้นหาประวัติคนไข้เพื่อทำการรักษา
- วิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้จากการรักษามาเปรียบเทียบแล้วดึงข้อมูลเดิมจากคนไข้ว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการรักษาเป็นอย่างไรบ้าง
- การค้นหาการจ่ายยา เหมาะกับโรคที่คนไข้เป็น

2. หากโรงพยาบาลต้องการพัฒนาระบบให้เป็น web services ท่านคิดว่าระบบมีความสามารถในการบริการด้านใดบ้าง
- สามารถจองบัตรคิวผ่าน Web Services
- การสร้างเว็บบอร์ดเพื่อการสอบถามอาการ หรือโรคต่างๆ ระหว่างคนไข้กับหมอ
- สามารถดูวันเวลาทำการของหมอแต่ละคนได้ว่า หมอมาเวลากี่โมงสามารถรู้ล่วงหน้าได้ก่อน
- สามารถรับรู้ความเป็นไปของคนไข้ที่อยู่ต่างจังหวัดได้ คือ ในกรณีที่ญาติของเราป่วยเราไม่สามารถที่จะไปเยี่ยมได้แต่เราสามารถรับรู้ความเป็นไปตัวผ่านกล้องที่ติดอยู่ในห้อง
- อาจมีการเล่น msn ระหว่างหมอกับคนไข้
- สามารถที่จะมีการนัดวันที่ไปตรวจโรคได้
- อาจจะมีบทความเพื่อเป็นกรณีศึกษาให้กับผู้ป่วยได้
- สามารถรู้ค่าใช้จ่ายได้ล่วงหน้า
- ทำเว็บบอร์ดเรื่องเกี่ยวกับประกันสังคมกับการรักษา ว่าผู้ที่มีประกันสังคมต้องทำตามขั้นตอนใดบ้าง
- ดูผลตรวจโดยผ่านWeb Services



จัดทำโดย นายนิวัฒน์ ก๋าใจ 49324228

สรุปบทที่ 3 ฐานข้อมูลและคลังข้อมูล

ฐานข้อมูลและคลังข้อมูล

โครงสร้างข้อมูล
1.บิต (Bit)เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล มีสถานะเป็น 0 กับ 1
2.ไบต์(Byte)ประกอบด้วยบิตหลาย ๆ บิตมาเรียงกัน
3.เขตข้อมูล(Field)เป็นการนำข้อมูลหลายอักขระมารวมกันเป็นคำเพื่อเกิดความหมาย
4.ระเบียนข้อมูล(Record) กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความหมายสัมพันธ์กัน ถูกนำมาไว้รวมกัน
5.ไฟล์ (File)กลุ่มของระเบียนข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันถูนำมาจัดเก็บไว้ด้วยกัน

ปัญหาเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล

1.ความซ้ำซ้อนของข้อมูล
2.ความผูกพันระหว่างข้อมูลและโปรแกรม
3.การไม่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
4.การขาดความคล่องตัว
5.การขาดระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี

แนวทางในการใช้ฐานข้อมูลในการบริหารจัดการข้อมูล

1.ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
2.มีความเป็นอิสระของข้อมูล
3.สนับสนุนการใช้ข้อมูลร่วมกัน
4.มีความคล่องตัวในการใช้งาน
5.มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสูง

องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล

1.ข้อมูล
2.ฮาร์ดแวร์
3.ซอฟต์แวร์
4.ผู้ใช้

รูปแบบของฐานข้อมูล

แบบจำลองฐานข้อมูลอธิบายถึงโครงและความสร้างสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล แบบจำลองฐานข้อมูลมีหลายรูปแบบในที่นี้กล่าวถึงแบบลำดับชั้น แบบเครื่อข่าย และแบบเชิงสัมพันธ์
ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายมีการกระจายฐานข้อมูลจัดเก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องตามพื้นที่ต่างๆเพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน มีข้อดีที่มีการจัดเก็บข้อมูลมีความสอดคล้องกับลักษณะการใช้งานจริงทำให้สามรถเรียกใช้งานได้เร็ว และช่วยลดความเสี่ยงจากเก็บข้อมูลไว้ที่ส่วนกลางเพียงแห่งเดียว แต่จะมีความซับซ้อนในการประมวลผลเพื่อเรียกใช้ข้อมูล การฟื้นสภาพ และการออกแบบฐานข้อมูลมากกว่าระบบฐานข้อมูลแบบรวม และต้องอาศัยระบบสื่อสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบออบเจ็กเป็นฐานข้อมูลที่ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบันเนื่องจากสามารถจัดเก็บข้อมูลที่มีความซับซ้อน มีขนาดใหญ่ และมีความหลากหลายได้ แต่การประมวลผลรายการ ข้อทูลทั่วๆไปอาจไม่รวดเร็วเท่ากับระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ จึงมีการพัฒนาฐานข้อมูลแบบ ORDBMS โดยนำเอาข้อดีของระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์มาใช่ร่วมกับข้อเด่นหรือจุดแข็งของระบบฐานข้อมูลแบบออบเจ๊ก

คลังข้อมูล คือทีจัดเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งและหลากหลายชนิดเข้าด้วยกันเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์การ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลนี้ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีข้อมูลที่พร้อมจะนำมาประมวลผลสำหรับการสนับสนุนด้านการบริหารและตัดสินใจ โดยมีโอแลป และดาต้าไมนิ่ง เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลและการค้นหาความรู้ในคลังข้อมูล



จัดทำโดย นายนิวัฒน์ ก๋าใจ 49324228

ข่าวสารสนเทศ02

โตโยต้าโชว์หุ่นยนต์เล่นไวโอลิน

โตโยต้าย้ำความพร้อมเข้าสู่ธุรกิจหุ่นยนต์ โชว์ตัวหุ่นยนต์ 2 รุ่นใหม่ล่าสุด หนึ่งคือหุ่นยนต์นักสีไวโอลิน น้องใหม่ตระกูลเดียวกับหุ่นยนต์เป่าทรัมเป็ตที่โตโยต้าเปิดตัวออกมาก่อนหน้านี้ สองคือหุ่นยนต์เก้าอี้ล้อเลื่อนอัจฉริยะ สำหรับผู้ป่วยหรือคนแก่ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปยังเตียงนอนหรือเดินผ่านประตูได้เอง

จากรายงานของเอพี หุ่นยนต์นักสีไวโอลินมีความสูงราว 5 ฟุต มีนิ้วมื 5 นิ้วที่สามารถกดสายไวโอลินได้โดยตรง สามารถขยับแขนและเคลื่อนไหวท่วงท่าให้สอดคล้องกับการบรรเลงเพลงได้ โดยความสามารถของนิ้วมือในหุ่นยนต์ของโตโยต้านั้นเป็นลักษณะเดียวกับหุ่นยนต์เป่าทรัมเป็ตซึ่งโตโยต้าเปิดตัวออกมาก่อนหน้านี้

ขณะที่หุ่นยนต์เพื่อการเคลื่อนที่หรือ mobility robots มีลักษณะคล้ายเก้าอี้ล้อเลื่อนสำหรับผู้พิการ โดยหุ่นยนต์นี้สามารถเคลื่อนที่เพื่อรับส่งผู้สูงอายุและผู้ป่วยระหว่างเตียงนอน รวมถึงสามารถใช้เป็นรถยนต์ส่วนตัวเพื่อรับส่งผู้ใช้ระหว่างห้องได้ โดยจากการสาธิต หุ่นยนต์ล้อเลื่อนนี้สามารถขึ้น-ลงพื้นที่ลาดชัน และเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวางเล็กๆได้โดยไม่ทำให้ผู้ที่นั่งอยู่ได้รับความกระทบกระเทือนใดๆ ทั้งหมดเป็นผลจากเทคโนโลยีการเปลี่ยนรูปแบบล้อเลื่อนเพื่อการเคลื่อนที่ในสถานการณ์ต่างๆ

งานนี้ประธานโตโยต้า คัตสึอากิ วาตานาเบ ระบุชัดเจนว่า ธุรกิจหุ่นยนต์จะเป็นธุรกิจหลักอย่างหนึ่งของโตโยต้าในอนาคต โดยโตโยต้าจะเริ่มทดสอบหุ่นยนต์ของบริษัทในโรงพยาบาลก่อน และเชื่อว่าโรงงานผลิตและศูนย์วิจัยหุ่นยนต์ของโตโยต้าจะเริ่มดำเนินการอย่างจริงจังในปีหน้า

ประธานโตโยต้าเรียกผลงานหุ่นยนต์ของบริษัทว่า "partner robots" วางเป้าหมายว่าหุ่นยนต์คู่กายจะสามารถใช้งานจริงในปี 2010
โตโยต้านั้นมีความเคลื่อนไหวด้านหุ่นยนต์มาโดยตลอด โดยโตโยต้านำหุ่นยนต์ Robina หุ่นยนต์ไร้ขาติดล้อเลื่อนมาให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้าในโชว์รูมที่สำนักงานใหญ่แล้วในขณะนี้ บนประโยคแนะนำตัวติดตลกว่า "ดิฉันมีความสูง 120 เซนติเมตร แต่น้ำหนักเท่าไหร่นั้นไม่บอกค่ะ" ก่อนจะเริ่มต้นแนะนำรถยนต์รุ่นอื่นๆอย่างพรีอุสต่อไป

ที่มา http://www.norsorpor.com/go2

กรณีศึกษา: การใช้พีดีเอในร้านก๋วยเตี๋ยว

กรณีศึกษา: การใช้พีดีเอในร้านก๋วยเตี๋ยว

ประโยชน์ที่ได้จากการนำพีดีเอมาใช้ในธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวมีอะไรบ้าง
- สามารถส่งอาหารได้เร็วขึ้น
- สะดวกต่อการคิดเงินลูกค้า
- ประหยัดเวลา
- ลูกค้าไม่ต้องคอยนาน

ท่านคิดว่ามีข้อจำกัดหรือปัญหาอะไรบ้างในการนำเทคโนโลยีพีดีเอมาใช้ในธุรกิจนี้
- ต้นทุนสูง
- บางครั้งข้อมูลอาจมีการผิดพลาด

ธุรกิจใดบ้างที่สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ จงอธิบาย
-ร้านค้าต่างๆ เช่น พนักงานแต่ละคนก็ต้องมีรหัสพนักงานเพื่อนำไปใช้เข้าเครื่องขาย
ของแต่ละคน และดูยอดขาย เงินเดือนของแต่ละคน และการขายง่าคิดเงินตามที่เครื่องขายถูกหรือเปล่า



จัดทำโดย นายนิวัฒน์ ก๋าใจ 49324228

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

บทที่2 การบริหารทรัพยาคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์

วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์
มีขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน

1.Input ทำหน้าที่รับข้อมูลเพื่อรับนำข้อมูลไปประมวลผล เช่น Keyboard, Mouse, Scanner, Microphone, Digital Camera เป็นต้น
2.Process เมื่อรับข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้ว จะทำการประมวลผลตามโปรแกรมที่กำหนด เช่น การคำนวณภาษี คำนาณเกรดเฉลี่ย เป็นต้น
3.Output การแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลไปยังหน่วยแสดงผล ได้แก่ Monitor, Speaker, Printer เป็นต้น
4.Storage การจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น Hart Disk, CD-ROM, USB Flash Drive เป็นต้น

ประเภทของคอมพิวเตอร์ จำแนกเป็น 7 ประเภทดังนี้คือ
1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด มีความสามารถในการประมาลผลได้ถึงพันล้านคำสั่งต่อวินาที ใช้ในการพยากรณ์อากาศ การทดสอบอวกาศ เป็นต้น หน่วยง่านที่ใช้ได้แก่ NASA และหน่วยงานธุรกิจขนาดใหญ่
2.คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (Mainframe computer) สามารถรองรับการทำงานของผู้ใช้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำขนาดใหญ่ จัดเก็บข้อมูลได้มาก งานที่ใช้เช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
3.มินิคอมพิวเตอร์(Minicomputer) หรือเรียกว่า Mid-range Computer/Server สามารถรองรับการใช้งานจากผู้ใช้หลายคนในงานที่แตกต่างกัน นิยมใช้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม เป็นต้น
4.คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC)เหมาะกับสำนักงาน สถานศึกษา และที่บ้าน นอกจากนี้ยังจำแนกได้ดังนี้- All-in-one Computer จอภาพและหน่วยประมวลผลอยู่ในอุปกรณ์เดียวกัน- Workstation ออกแบบเพื่อใช้งานด้านการคำนวณและกราฟฟิก- Stand-alone Computer สามารถทำงานที่เรียกว่า IPPOS cycle- Server Computer สามารถทำงานใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์
5.คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค (NotebookComputer) สามารถใช้งานเช่นเดียวกับ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ปัจจุบันนิยมใช้กันมาก เนื่องจากพกพาสะดวก
6.Hand-held Personal Computer มีขนาดเล็กที่สุดที่สามารถจัดการข้อมูลส่านบุคคล ตลอดจนใช้งานอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันที่นิยมใช้เช่น Pocket PC และ Paim
7 คอมพิวเตอร์แบบฝัง(Embedded Computer)เป็นการฝังอุปกรณ์การทำงานเฉพาะด้าน


เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 6 ส่วนคือ
1.อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) ได้แก่ Keyboard, Mouse, Scanner, Microphone, Digital Camera
เป็นต้น
2.หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ หน่วยควบคุม(Control Unit)ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกส่วน และหน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU)ที่คำนวณทางคณิตศาสตร์
3.หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ที่บรรจุอยู่ในเมนบอร์ด รู้จักกันทั่วไปมี 3 ประเภทคือ-หน่วยความจำแรม (RAM) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่นิยมใช้แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ SRAM และ DRAM-หน่วยความจำรอม (ROM) เป็นหน่วยความจำที่บรรทึกข้อมูลและคำสั่งเริ่มต้น และข้อมูล คำสั่งจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่องหรื่อไฟฟ้าดับ-หน่วยความจำซีมอส (CMOS) ใช้เก็บข้อสนเทศที่ใช้เป็นประจำของระบบคอมพิวเตอร์เช่น ประเภทของแป้นพิมพ์ เมาส์ จอภาพ เครคื่องอ่นแผ่นดิสก์
4.อุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้รับจากการประมาลผลข้อมูล เช่น Printer และ
5.อุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Devices)
6.อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Devices)เป็นอุปกรณืที่ใช้สำหรับจัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลเพื่อใช้ในการประมาลผล เช่น ฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) ฮาร์ดิสก์ (Hard disk) คอมแพคดิสก์ (CD) และแผ่น DVD

การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
1.การกำหนดแนวทางจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและการแข่งขันของธุรกิจในยุคปัจจุบัน ดังนั้นควรวางแผนระยะยาวในเร่องของประสิธิภาพในอนาคตของฮาร์ดแวร์
2.การกำหนดมาตรฐานในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรฮาร์ดแวร์ คือการจัดหาอาร์ดแวร์ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกันความต้องการขององค์การอย่างแท้จริง
3.การจักทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการดูแลรักษาอุปกรณ์ต่างๆ และเป็นแนวทางในการบริหารจัดการสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) จำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.) ระบบปฏิบัติการ (Operating Sytem : OS) เป็นชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางของกิจกรรมต่างๆระหว่างโปรแกรมประยุกต์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และผู้ใช้งานกับโปรแกรมประยุกต์ ตัวอย่างเช่นระบบปฏิบัติการดอส (DOS) ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์(LINUX) และระบบปฏิบัติการ Windows gxHo9ho
2.)โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Programs) เป็นระบบที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรม และอุปกรณืต่างๆ ทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยและเสถียรภาพของคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรที่ช่วยจัดระเบีนบข้อมูลในฮาร์ดดิสก์(Disk Defragmenter) โปรแกรมตรวจสอบไวรัส (Virus Scan) เป็นต้น
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) สามารถแบ่งตามประเภทงานได้ดังนี้-โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processor)เป็นโปรแกรมสำหรับสร้าง แก้ไข จัดรู้แบบ ตลอดจนจัดพิมพ์งานเอกสารให้อยู่ในรูปของสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น Microsoft Word เป็นต้น
-โปรแกรมด้านการคำนวณ (Spreadsheet) ที่เป็นลักษณะของ Worksheet ที่ประกอบไปด้วย เซลล์ แถว และคอลัมน์ สามารถพิมพ์ข้อมูลเป็นตัวเลข ตัวอักษร และสูตรคำนวณต่างๆแล้วโปรแกรมจะคำนวณโดยอัตโนมัติ และเมื่อมีการแก้ข้อมูลก็ปรับผลลัพธ์โดยอัตโนมัติ เช่น Microsoft Excel เป็นต้น
-โปรแกรมการนำเสนอข้อมูล (Presentation) ที่สามารถสร้างเอกสารในรูปแบบแผ่นสไลด์ มีเทคนิคการนำเสนอที่ดึงดูดความสนใจในการนำเสนอ เช่น Microsoft PowerPoint เป็นต้น
-โปรแกรมการจัดการด้านฐานข้อมูล (Database) เป็นการสร้างฐานข้อมูล เพื่อนำไปจัดเก็บให้สามารถจัดการข้อมูลได้ และค้นหาข้อมูลตามเงื่อนไข เช่น Microsoft Access เป็นต้น
-โปรแกรมด้านงานพิมพ์ (Desktop Publishing) ที่ช่วยผลิตสิ่งพิมพ์ต่างๆหลายรูปแบบ และช่วยออกแบบให้สิ่งพิมพ์ให้มีความสวยงามอีกด้วย เช่น Microsoft Publisher เป็นต้น
-โปรแกรมกราฟิก (Graphics) ที่ช่วยออกแบบ และตกแตงภาพที่มีอยู่ให้สวยงามและแตกต่างไปจากเดิม เช่น Adobe Photoshop เป็นต้น

ภาษาโปนแกรม
มนุษย์สื่อสารกันด้วยภาษาที่แตกกัน ขึ้นอยู่กับความเป็นมาและสภาพแวดล้อมของแต่ละชาติ ภาษาที่นิยมใช้สื่อสารกันปัจจุบันนี้ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษาเยอรมัน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน และอื่น ๆ ส่วนการสื่อสารของคอมพิวเตอร์ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการสื่อสารของมนุษย์กล่าวคือมีภาษาที่แตกต่างกันจำนวนมากที่สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ เช่น ภาษาเบสิก (BASIC) ภาษาปาสคาล (PASCAL) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาซี ©แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะรับคำสั่งจากภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีโครงสร้างแตกต่างกันได้ แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การรับคำสั่งในการทำงานคอมพิวเตอร์จะรับเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ภาษาเครื่อง

ประเภทของภาคอมพิวเตอร์ จำแนกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
-ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นเพียงภาษาเดียวที่สามารถสื่อสารได้กับคอมพิวเตอร์โดยตรง ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ประกอบด้วยตัวเลขฐานสอง (Binary Digits หรือ bits) ที่ใช้เลข 0 และ 1 เป็นสัญลักษณ์แทนสัญญาณปิดและเปิดตามลำดับ
-ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language) เนื่องมาจากภาษาเครื่องยากแก่การเขียนโปรแกรม ภาษาในยุคที่สอง (Second- generation Language) ที่เรียกว่า ภาษาแอสแซมบลี ได้พัฒนาขึ้นที่จะใช้รหัสและสัญลักษณ์แทน 0 และ 1 ในการเขียนโปรแกรม
-ภาษาระดับสูง (High-level Languages) หรือภาษายุคที่สาม (Third-generation Languages) ภาษาเครื่องและภาษาแอสแซมบลียังมีข้อจำกัดในการนำไปพัฒนาโปรแกรม ดังนั้นได้มีการพัฒนาภาษาระดับสูง (High-level Languages) ขึ้น ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้และการนำไปประยุกต์ใช้งาน สามารถทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันได้ (ไม่ผูกติดกับฮาร์ดแวร์)
-ภาษาระดับสูงเภท (Very High-level Languages) หรือภาษายุคที่สี่ (Fourth-generation Languages) ภาษาในยุคที่สี่จะใช้คำสั่งเป็นภาษาอังกฤษเหมือนในยุคที่สาม แต่ต่างกันที่ภาษาในยุคที่สี่จะเป็นภาษาแบบไม่เป็นโพรซีเยอร์ (Non-procedural) เป็นโปรแกรมเมอร์เพียงเขียนโปรแกรมสั่งว่าต้องการอะไร (what) โดยไม่ต้องเขียงคำสั่งอธิบายว่าต้องทำอย่างไร (how) ดังนั้นการเขียนโปรแกรมภาษาในยุคที่สี่จึงง่าย สะดวกและรวดเร็ว ภาษายุคที่สี่ไม่ได้ถูกออกแบมาเพื่อทำงานด้วยตัวเองตามลำพัง ภาษายุคที่สี่จะต้องทำงานร่วมเกี่ยวกับภาษาอื่นที่สามารถทำงานเกี่ยวกับรับข้อมูล การแสดงผล และการคำนวณที่ซับซ้อน ภาษาลักษณะนี้เรียกว่า Host Laguage คำว่า Host แปลว่า เจ้าบ้าน ภาษายุคที่สี่จึงเปรียบเสมือนผู้อาศัยที่มาอาศัยอยู่กับเจ้าบ้าน และช่วยทำงานให้งานของเจ้าบ้านเสร็จเร็วขึ้น
-ภาษาธรรมชาติ (Natural languages) การเขียนโปรแกรมในยุคที่สี่ จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและโครงสร้างของภาษาอย่างเคร่งครัด แต่ในยุคของภาษาธรรมชาติอาจไม่จำเป็น แต่โดยปกติจะนำมาประยุกต์ใช้กับระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial lntelligence) ซึ่งนิยมใช้ในวงการแพทย์และธุรกิจ

การบริหารทรัพยากรซอฟต์แวร์
ทรัพยากรซอฟต์แวร์มีคุณค่าและมูลค่าไม่น้อยไปกว่าทรัพยากรฮาร์ดแวร์ การทำงานของทั้งสองสิ่งจำเป็นต้องประสานสอดคล้องกัน ในการตัดสินใจเลือกใช้ซอฟต์แวร์จึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวเนื่องกันโดยในการพิจารณานั้นควรจะคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
-การจัดหาทรัพยากรซอฟต์แวร์ ซึ่งมีหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะขององค์การ ตลอดจนลักษณะการคำนึงงานในส่วนต่าง ๆ การเลือกซอฟต์แวร์ว่าจะหามาด้วยวิธีให้บุคลากรในองค์การพัฒนาขึ้นมาเอง หรือจ้างบริษัทภายนอก
-การเลือกใช้ซอฟต์แวร์สำหรับองค์การ แบ่งออกเป็น 3 ประการ
1. ความเป็นมาตรฐาน
2. ความเหมาะสมและคุณสมบัติของซอฟต์แวร์นั้น ๆ
3. ความเข้ากันได้



จัดทำโดย นายนิวัฒน์ ก๋าใจ 49324228

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ปริศนาอักษรไขว้

ปริศนาอักษรไขว้
1. อุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณระหว่างแอนะล็อก กับ ดิจิทัล
= Modem
2. ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล
= Data
3. โปรแกรมเฉพาะที่ช่วยให้อุปกรณ์รับ/ส่งข้อมูลสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้
= Device drivers
4. คอมพิวเตอร์มือถือที่ใช้แพร่หลายที่สุด
= PDA
5. บริการบนอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้เข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ โดยผ่านส่วนติดต่อแบบมัลติมีเดีย
= WWW
6. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
= Internet
7. อุปกรณ์ทางกายภาพของไมโครคอมพิวเตอร์
=Hardware
8. ไฟล์ที่สร้างจากการโปรแกรมประมวลผลคำ
= Document files
9. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
=Information
10. กฎหรือแนวทางในการใช้ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และข้อมูล
=Procedures
11. ชุดคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
= Software
12. ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ผลิตงานต่าง ๆ
=Peoples
13. ไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง
=Tablet PC
14. ส่วนที่ทำหน้าที่ประสานงานกับทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
= Operating system
15. ไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล
= Database files
16. องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ
= People
17. อุปกรณ์ที่บรรจุด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก
= Chassis

ข่าวสารสนเทศ

ฮาร์ดไดรฟ์เดสท์ท็อปประหยัดพลังาน

ฮิตาชิ เปิดตัวฮาร์ดไดรฟ์เดสก์ท็อปประหยัดพลังงานสูงที่สุดในโลก เมื่อเทียบกับรุ่นก่อน ความเร็ว 7,200 รอบต่อนาที ความจุ 250-500 กิกะไบต์ มร.ชินจิโร่ อิวาตะ รองประธานฝ่ายบริหาร บริษัท ฮิตาชิ จีเอสที โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับโปรแกรมจัดเรตติ้งการประหยัดพลังงาน เป็นแนวคิดใหม่ที่สำคัญมาก ฮาร์ดไดรฟ์ Deskstar P7K500 ได้ผสานนวัตกรรมประหยัดพลังงานหลายอย่างรวมอยู่ในฮาร์ด ไดรฟ์เพียงตัวเดียว ทำให้เกิดผล ลัพธ์ในรูปแบบการจัดการพลังงานชั้นนำที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้พลังงานของระบบ
Deskstar P7K500 ประหยัดพลังงานเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับฮาร์ดไดรฟ์ที่เคยมีมา และเทียบกับฮาร์ดไดรฟ์ในระดับเดียวกัน ใช้หัวอ่านและดิสก์บันทึกข้อมูลในแนวดิ่งด้วย แถบแม่เหล็ก (พีเอ็มอาร์) รุ่นที่ 2 ทำให้สามารถเพิ่มความจุต่อพื้นที่เป็น 250 กิกะไบต์ต่อแพลตเตอร์ คุณสมบัติที่โดดเด่นในด้านการประหยัดพลังงานของ Deskstar P7K500 นอกจากจะช่วยสนับสนุนโครงการ “สีเขียว” แล้ว ยังช่วยประหยัดพลังงานทั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และยังเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ผลิตพีซีในการสร้างเครื่องมือระดับมาตรฐาน ENERGY STAR พีซีระดับมาตรฐาน ENERGY STAR จะช่วยประหยัดพลังงานในขณะที่ไม่มีการปฏิบัติงาน.

ที่มา เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เวลา 13:55 น.
จัดทำโดย นาย นิวัฒน์ ก๋าใจ 49324228

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สรุปบทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

1. ข้อมูลและสารสนเทศข้อมูล คือ เป็นข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลข้อเท็จจริงต่างๆ อาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ หรือเสียงสารสนเทศ คือ สิ่งที่ได้ประมวลผลข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และการคาดการณ์ในอนาคตได้ แสดงในรูปของข้อความ ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพ*ข้อแตกต่างข้อมูลและสารสนเทศ ข้อมูลยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล แต่สารสนเทศผ่านการประมวลแล้ว*ความรู้ "knowledge" คือ การรับรู้และความเข้าใจสารสนเทศจนถึงระดับที่สามารถวิเคราะห์ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ เป็นการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ จากนั้นก็จะแปลงสารสนเทศ (วิเคราะห์ สังเคราะห์) ตัดสินใจ และปฏิบัติ

2. ระบบและระบบสารสนเทศระบบ (system) คือ กลุ่มของส่วนประกอบหรือระบบย่อยต่างๆ ที่มีการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย การนำเข้า input การประมวลผล process ผลลัพธ์ output การให้ข้อมูลสะท้อนกลับ feedbackระบบสารสนเทศ คือ การนำองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันของระบบมารวบรวม บันทึก ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม จัดการและการตัดสินใจเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ขึ้นอยู่กับ input และ processinput และ process จะต้องสัมธ์กันกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบด้วย 3 ส่วน-การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ เป็นการรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อการประมวลผล- การประมวลผล การนำทรัพยากรที่ได้นำเข้าสู่ระบบมาปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่มีความหมายเพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ วางแผน ควบคุม และการดำเนินงานด้านต่างๆ สามารถทำด้วยมือ หรือใช้คอบพิวเตอร์- ผลลัพธ์ ผลผลิตที่ได้จากการประมวลผล อยู่ในรูปของเอกสารหรือรายงานสารสนเทศระบบสารสนเทศอาจมีการส่งข้อมูลสะท้อนกับ อาจผลปัญหาหรือข้อผิดพลาด จำเป็นที่จะต้องนำผลลัพธ์นี้ไปแก้ไขกระบวนการนำข้อมูลเข้าและการประมวล

3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems : MIS) มีจุดมุงหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และการตัดสินใจในองค์การ หรือ MIS จะต้องใชอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ โประแกรม ร่วมกับผู้ใช้ เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศฯที่มีประโยชน์

4. ลักษณะของสารสนเทศ
4.1. ถูกต้องแม่นยำ
4.2. สมบรูณ์ครบถ้วน
4.3. เข้าใจง่าย
4.4. ทั้นต่อเวลา
4.5. เชื่อถือได้
4.6. คุ้มราคา
4.7. ตรวจสอบได้
4.8. ยืดหยุ่น
4.9. สอดคล้องกับความต้อนการ
4.10. สะดวกในการเข้าถึง
4.11. ปลอดภัย

5. ความสำคัญของระบบสารสนเทศการท้าทายของเศรษฐกิจโลก การรู้จัก คู่แข่งขัน การเจริญเติบโตของโลกเศรษฐกิจอุตสาหกรรมทำให้ระบบสารสนเทศมีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อขยายโอกาสทางเศรษฐกิจ ทั้งระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศเท่านั้น องค์การจำเป็นจะต้องมีระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เหมาะสมกับยุคของระบบเศรษฐกิจฐานความรู้การแข่งขันทางการค้าการแข่งขันทางการค้าความได้เปรียบพัฒนาผลิตพันธ์ที่สามารถแข่งขันได้การขยายเครือข่ายทางการค้า การเปลี่ยนแปลงค่านิยมของผู้บริโภค ต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกันความต้องการของผู้บริโภคความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นอย่างเร็วทำให้องค์การต่างๆได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีคุณภาพ6. ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ6.1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน6.2. ช่วยสร้างทางเลือกในการแข่งขัน6.3. ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ6.4. ช่วยเพิ่มคุนภาพชีวิต
เขียนโดย นายนิวัฒน์ก๋าใจ 0 ความคิดเห็นสมัครสมาชิก:บทความ (Atom)สารบัญ▼ 2007 (3)▼ ตุลาคม (3)
คำถามบทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
1. ระบบสารสนเทศคือ
ตอบ การนำองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันของระบบมารวบรวม บันทึก ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม จัดการและการตัดสินใจ มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิของมนุษย์ ทำให้การติดต่อสื่อสารข้อมูลของมนุษย์มีความสะดวก รวดเร็ว และทันเหตุการณ์ มากยิ่งขึ้น

2. ข้อมูลกับสารสนเทศ และสารสนเทศกับความรู้แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ข้อมูลกับสารสนเทศ ข้อมูลยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล แต่สารสนเทศข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วสารสนเทศกับความรู้ สารสนเทศเป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วพร้อมที่จะนำไปใช้ประโยชน์ ส่วนความรู้ เป็นความเข้าใจในสารสนเทศ

3. ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศทั่วๆ ไปมีอะไรบ้าง
ตอบ การนำเข้า input การประมวลผล process ผลลัพธ์ output การให้ข้อมูลสะท้อนกลับ feedback

4. ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ (CBIS) คืออะไร มีองค์ประกอบอะไร
ตอบ คือ Computer-based Information System ระบบติดต่อสื่อสาร ซึ่งยอมให้หน่วยงานหรือผู้ใช้งานหลายคน สามารถเชื่อมโยง ระบบคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน โดยใช้ระบบเครือข่าย (network)องค์ประกอบ 6 ส่วน 1. ฮาร์ดแวร์ Hardware 2. ซอฟต์แวร์ Software 3. ข้อมูล Data 4. การสื่อสารและ5. เครือข่าย Telecommunication 6. กระบวนการทำงาน Procedure 7. บุคลลากร People

5. จงยกตัวอย่างระบบใดๆ มา 1 ระบบ พร้อมทั้งจำแนกส่วนประกอบและเป้าหมาย
ตอบ โทรศัพท์ 1. ข้อมูล รูปเสียงและข้อความ
2. ฮาร์ดแวร์
3. ซอฟต์แวร์
4. เครือข่ายโทรศัพท์
5. กระบวนการทำงาน
6. ผู้ใช้บริการ
เขียนโดย นิวัฒน์ ก๋าใจ0 ความคิดเห็น
กรณีศึกษา: ร้านไอศกรีม I berry
กรณีศึกษา: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ การบริหารงานร้านไอศกรีม I berry
คำถาม

1. ประโยชน์ที่ร้านไอศกรีม I berry นำ IT เข้ามาช่วยในการบริหารงาน นอกจากการแก้ปัญหาข้างต้นแล้ว ท่านคิดว่าทางร้านยังได้รับประโยชน์ได้ใดบ้าง
- ได้ความสัมพันธ์
- ความน่าเชื่อถือ
- การมีระบบในองค์กร
- ความรวดเร็ว ไม่เสียเวลา
- ประหยัดค่าใช้จ่าย
- ประสิทธิภาพในการทำงาน

2. ท่านคิดว่าในอนาคตร้านไอศกรีม I berry สามารถนำ IT เข้ามาช่วยในด้านอีกได้บ้าง
สร้างเว็บไซด์แนะนำสินค้า และให้ผู้บริโภคสามารถออกความคิดเห็นในรสชาติของไอศกรีมที่แปลกใหม่

3. จากแนวคิดการนำ IT มาใช้แก้ปัญหาของผู้บริการร้าน ไอศกรีม I berry นั้น ท่านคิดว่าสามารถนำแนวคิดนี้ใช้ประยุกต์ในธุรกิจใดได้บ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ร้าน MK สุกี้ เพราะมีความคล้ายกับร้านไอศกรีม Iberry คือมีสาขาย่อยเยอะ- การใช้ เครื่องปาล์ม มาช่วยในเรื่องของการสั่งรายการอาหารรวมทั้งยอดขายในแต่ละวัน- การใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลของ ยอดขาย เงินเดือน

จัดทำโดย1.นางสาวฐิติมา แสงคำหล่อ 49324204
2.นายนิวัฒน์ ก๋าใจ 49324228

เขียนโดย นาย นิวัฒน์ ก๋าใจ 0 ความคิดเห็น

สรุปบทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

บทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

1. ข้อมูลและสารสนเทศข้อมูล คือ เป็นข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลข้อเท็จจริงต่างๆ อาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ หรือเสียงสารสนเทศ คือ สิ่งที่ได้ประมวลผลข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และการคาดการณ์ในอนาคตได้ แสดงในรูปของข้อความ ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพ*ข้อแตกต่างข้อมูลและสารสนเทศ ข้อมูลยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล แต่สารสนเทศผ่านการประมวลแล้ว*ความรู้ "knowledge" คือ การรับรู้และความเข้าใจสารสนเทศจนถึงระดับที่สามารถวิเคราะห์ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ เป็นการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ จากนั้นก็จะแปลงสารสนเทศ (วิเคราะห์ สังเคราะห์) ตัดสินใจ และปฏิบัติ

2. ระบบและระบบสารสนเทศระบบ (system) คือ กลุ่มของส่วนประกอบหรือระบบย่อยต่างๆ ที่มีการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย การนำเข้า input การประมวลผล process ผลลัพธ์ output การให้ข้อมูลสะท้อนกลับ feedbackระบบสารสนเทศ คือ การนำองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันของระบบมารวบรวม บันทึก ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม จัดการและการตัดสินใจเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ขึ้นอยู่กับ input และ processinput และ process จะต้องสัมธ์กันกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบด้วย 3 ส่วน-การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ เป็นการรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อการประมวลผล- การประมวลผล การนำทรัพยากรที่ได้นำเข้าสู่ระบบมาปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่มีความหมายเพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ วางแผน ควบคุม และการดำเนินงานด้านต่างๆ สามารถทำด้วยมือ หรือใช้คอบพิวเตอร์- ผลลัพธ์ ผลผลิตที่ได้จากการประมวลผล อยู่ในรูปของเอกสารหรือรายงานสารสนเทศระบบสารสนเทศอาจมีการส่งข้อมูลสะท้อนกับ อาจผลปัญหาหรือข้อผิดพลาด จำเป็นที่จะต้องนำผลลัพธ์นี้ไปแก้ไขกระบวนการนำข้อมูลเข้าและการประมวล

3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems : MIS) มีจุดมุงหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และการตัดสินใจในองค์การ หรือ MIS จะต้องใชอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ โประแกรม ร่วมกับผู้ใช้ เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศฯที่มีประโยชน์

4. ลักษณะของสารสนเทศ
4.1. ถูกต้องแม่นยำ
4.2. สมบรูณ์ครบถ้วน
4.3. เข้าใจง่าย
4.4. ทั้นต่อเวลา
4.5. เชื่อถือได้
4.6. คุ้มราคา
4.7. ตรวจสอบได้
4.8. ยืดหยุ่น
4.9. สอดคล้องกับความต้อนการ
4.10. สะดวกในการเข้าถึง
4.11. ปลอดภัย

5. ความสำคัญของระบบสารสนเทศการท้าทายของเศรษฐกิจโลก การรู้จัก คู่แข่งขัน การเจริญเติบโตของโลกเศรษฐกิจอุตสาหกรรมทำให้ระบบสารสนเทศมีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อขยายโอกาสทางเศรษฐกิจ ทั้งระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศเท่านั้น องค์การจำเป็นจะต้องมีระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เหมาะสมกับยุคของระบบเศรษฐกิจฐานความรู้การแข่งขันทางการค้าการแข่งขันทางการค้าความได้เปรียบพัฒนาผลิตพันธ์ที่สามารถแข่งขันได้การขยายเครือข่ายทางการค้า การเปลี่ยนแปลงค่านิยมของผู้บริโภค ต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกันความต้องการของผู้บริโภคความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นอย่างเร็วทำให้องค์การต่างๆได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีคุณภาพ

6. ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
6.1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
6.2. ช่วยสร้างทางเลือกในการแข่งขัน
6.3. ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
6.4. ช่วยเพิ่มคุนภาพชีวิต
เขียนโดย นายนิวัฒน์ก๋าใจ 0 ความคิดเห็น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
สารบัญ▼ 2007 (3)▼ ตุลาคม (3)

สรุปบทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

กรณีศึกษา: ร้านไอศกรีม I berry
คำถามบทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ