วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

บทที่2 การบริหารทรัพยาคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์

วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์
มีขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน

1.Input ทำหน้าที่รับข้อมูลเพื่อรับนำข้อมูลไปประมวลผล เช่น Keyboard, Mouse, Scanner, Microphone, Digital Camera เป็นต้น
2.Process เมื่อรับข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้ว จะทำการประมวลผลตามโปรแกรมที่กำหนด เช่น การคำนวณภาษี คำนาณเกรดเฉลี่ย เป็นต้น
3.Output การแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลไปยังหน่วยแสดงผล ได้แก่ Monitor, Speaker, Printer เป็นต้น
4.Storage การจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น Hart Disk, CD-ROM, USB Flash Drive เป็นต้น

ประเภทของคอมพิวเตอร์ จำแนกเป็น 7 ประเภทดังนี้คือ
1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด มีความสามารถในการประมาลผลได้ถึงพันล้านคำสั่งต่อวินาที ใช้ในการพยากรณ์อากาศ การทดสอบอวกาศ เป็นต้น หน่วยง่านที่ใช้ได้แก่ NASA และหน่วยงานธุรกิจขนาดใหญ่
2.คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (Mainframe computer) สามารถรองรับการทำงานของผู้ใช้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำขนาดใหญ่ จัดเก็บข้อมูลได้มาก งานที่ใช้เช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
3.มินิคอมพิวเตอร์(Minicomputer) หรือเรียกว่า Mid-range Computer/Server สามารถรองรับการใช้งานจากผู้ใช้หลายคนในงานที่แตกต่างกัน นิยมใช้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม เป็นต้น
4.คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC)เหมาะกับสำนักงาน สถานศึกษา และที่บ้าน นอกจากนี้ยังจำแนกได้ดังนี้- All-in-one Computer จอภาพและหน่วยประมวลผลอยู่ในอุปกรณ์เดียวกัน- Workstation ออกแบบเพื่อใช้งานด้านการคำนวณและกราฟฟิก- Stand-alone Computer สามารถทำงานที่เรียกว่า IPPOS cycle- Server Computer สามารถทำงานใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์
5.คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค (NotebookComputer) สามารถใช้งานเช่นเดียวกับ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ปัจจุบันนิยมใช้กันมาก เนื่องจากพกพาสะดวก
6.Hand-held Personal Computer มีขนาดเล็กที่สุดที่สามารถจัดการข้อมูลส่านบุคคล ตลอดจนใช้งานอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันที่นิยมใช้เช่น Pocket PC และ Paim
7 คอมพิวเตอร์แบบฝัง(Embedded Computer)เป็นการฝังอุปกรณ์การทำงานเฉพาะด้าน


เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 6 ส่วนคือ
1.อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) ได้แก่ Keyboard, Mouse, Scanner, Microphone, Digital Camera
เป็นต้น
2.หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ หน่วยควบคุม(Control Unit)ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกส่วน และหน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU)ที่คำนวณทางคณิตศาสตร์
3.หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ที่บรรจุอยู่ในเมนบอร์ด รู้จักกันทั่วไปมี 3 ประเภทคือ-หน่วยความจำแรม (RAM) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่นิยมใช้แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ SRAM และ DRAM-หน่วยความจำรอม (ROM) เป็นหน่วยความจำที่บรรทึกข้อมูลและคำสั่งเริ่มต้น และข้อมูล คำสั่งจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่องหรื่อไฟฟ้าดับ-หน่วยความจำซีมอส (CMOS) ใช้เก็บข้อสนเทศที่ใช้เป็นประจำของระบบคอมพิวเตอร์เช่น ประเภทของแป้นพิมพ์ เมาส์ จอภาพ เครคื่องอ่นแผ่นดิสก์
4.อุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้รับจากการประมาลผลข้อมูล เช่น Printer และ
5.อุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Devices)
6.อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Devices)เป็นอุปกรณืที่ใช้สำหรับจัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลเพื่อใช้ในการประมาลผล เช่น ฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) ฮาร์ดิสก์ (Hard disk) คอมแพคดิสก์ (CD) และแผ่น DVD

การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
1.การกำหนดแนวทางจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและการแข่งขันของธุรกิจในยุคปัจจุบัน ดังนั้นควรวางแผนระยะยาวในเร่องของประสิธิภาพในอนาคตของฮาร์ดแวร์
2.การกำหนดมาตรฐานในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรฮาร์ดแวร์ คือการจัดหาอาร์ดแวร์ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกันความต้องการขององค์การอย่างแท้จริง
3.การจักทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการดูแลรักษาอุปกรณ์ต่างๆ และเป็นแนวทางในการบริหารจัดการสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) จำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.) ระบบปฏิบัติการ (Operating Sytem : OS) เป็นชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางของกิจกรรมต่างๆระหว่างโปรแกรมประยุกต์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และผู้ใช้งานกับโปรแกรมประยุกต์ ตัวอย่างเช่นระบบปฏิบัติการดอส (DOS) ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์(LINUX) และระบบปฏิบัติการ Windows gxHo9ho
2.)โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Programs) เป็นระบบที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรม และอุปกรณืต่างๆ ทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยและเสถียรภาพของคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรที่ช่วยจัดระเบีนบข้อมูลในฮาร์ดดิสก์(Disk Defragmenter) โปรแกรมตรวจสอบไวรัส (Virus Scan) เป็นต้น
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) สามารถแบ่งตามประเภทงานได้ดังนี้-โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processor)เป็นโปรแกรมสำหรับสร้าง แก้ไข จัดรู้แบบ ตลอดจนจัดพิมพ์งานเอกสารให้อยู่ในรูปของสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น Microsoft Word เป็นต้น
-โปรแกรมด้านการคำนวณ (Spreadsheet) ที่เป็นลักษณะของ Worksheet ที่ประกอบไปด้วย เซลล์ แถว และคอลัมน์ สามารถพิมพ์ข้อมูลเป็นตัวเลข ตัวอักษร และสูตรคำนวณต่างๆแล้วโปรแกรมจะคำนวณโดยอัตโนมัติ และเมื่อมีการแก้ข้อมูลก็ปรับผลลัพธ์โดยอัตโนมัติ เช่น Microsoft Excel เป็นต้น
-โปรแกรมการนำเสนอข้อมูล (Presentation) ที่สามารถสร้างเอกสารในรูปแบบแผ่นสไลด์ มีเทคนิคการนำเสนอที่ดึงดูดความสนใจในการนำเสนอ เช่น Microsoft PowerPoint เป็นต้น
-โปรแกรมการจัดการด้านฐานข้อมูล (Database) เป็นการสร้างฐานข้อมูล เพื่อนำไปจัดเก็บให้สามารถจัดการข้อมูลได้ และค้นหาข้อมูลตามเงื่อนไข เช่น Microsoft Access เป็นต้น
-โปรแกรมด้านงานพิมพ์ (Desktop Publishing) ที่ช่วยผลิตสิ่งพิมพ์ต่างๆหลายรูปแบบ และช่วยออกแบบให้สิ่งพิมพ์ให้มีความสวยงามอีกด้วย เช่น Microsoft Publisher เป็นต้น
-โปรแกรมกราฟิก (Graphics) ที่ช่วยออกแบบ และตกแตงภาพที่มีอยู่ให้สวยงามและแตกต่างไปจากเดิม เช่น Adobe Photoshop เป็นต้น

ภาษาโปนแกรม
มนุษย์สื่อสารกันด้วยภาษาที่แตกกัน ขึ้นอยู่กับความเป็นมาและสภาพแวดล้อมของแต่ละชาติ ภาษาที่นิยมใช้สื่อสารกันปัจจุบันนี้ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษาเยอรมัน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน และอื่น ๆ ส่วนการสื่อสารของคอมพิวเตอร์ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการสื่อสารของมนุษย์กล่าวคือมีภาษาที่แตกต่างกันจำนวนมากที่สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ เช่น ภาษาเบสิก (BASIC) ภาษาปาสคาล (PASCAL) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาซี ©แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะรับคำสั่งจากภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีโครงสร้างแตกต่างกันได้ แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การรับคำสั่งในการทำงานคอมพิวเตอร์จะรับเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ภาษาเครื่อง

ประเภทของภาคอมพิวเตอร์ จำแนกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
-ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นเพียงภาษาเดียวที่สามารถสื่อสารได้กับคอมพิวเตอร์โดยตรง ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ประกอบด้วยตัวเลขฐานสอง (Binary Digits หรือ bits) ที่ใช้เลข 0 และ 1 เป็นสัญลักษณ์แทนสัญญาณปิดและเปิดตามลำดับ
-ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language) เนื่องมาจากภาษาเครื่องยากแก่การเขียนโปรแกรม ภาษาในยุคที่สอง (Second- generation Language) ที่เรียกว่า ภาษาแอสแซมบลี ได้พัฒนาขึ้นที่จะใช้รหัสและสัญลักษณ์แทน 0 และ 1 ในการเขียนโปรแกรม
-ภาษาระดับสูง (High-level Languages) หรือภาษายุคที่สาม (Third-generation Languages) ภาษาเครื่องและภาษาแอสแซมบลียังมีข้อจำกัดในการนำไปพัฒนาโปรแกรม ดังนั้นได้มีการพัฒนาภาษาระดับสูง (High-level Languages) ขึ้น ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้และการนำไปประยุกต์ใช้งาน สามารถทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันได้ (ไม่ผูกติดกับฮาร์ดแวร์)
-ภาษาระดับสูงเภท (Very High-level Languages) หรือภาษายุคที่สี่ (Fourth-generation Languages) ภาษาในยุคที่สี่จะใช้คำสั่งเป็นภาษาอังกฤษเหมือนในยุคที่สาม แต่ต่างกันที่ภาษาในยุคที่สี่จะเป็นภาษาแบบไม่เป็นโพรซีเยอร์ (Non-procedural) เป็นโปรแกรมเมอร์เพียงเขียนโปรแกรมสั่งว่าต้องการอะไร (what) โดยไม่ต้องเขียงคำสั่งอธิบายว่าต้องทำอย่างไร (how) ดังนั้นการเขียนโปรแกรมภาษาในยุคที่สี่จึงง่าย สะดวกและรวดเร็ว ภาษายุคที่สี่ไม่ได้ถูกออกแบมาเพื่อทำงานด้วยตัวเองตามลำพัง ภาษายุคที่สี่จะต้องทำงานร่วมเกี่ยวกับภาษาอื่นที่สามารถทำงานเกี่ยวกับรับข้อมูล การแสดงผล และการคำนวณที่ซับซ้อน ภาษาลักษณะนี้เรียกว่า Host Laguage คำว่า Host แปลว่า เจ้าบ้าน ภาษายุคที่สี่จึงเปรียบเสมือนผู้อาศัยที่มาอาศัยอยู่กับเจ้าบ้าน และช่วยทำงานให้งานของเจ้าบ้านเสร็จเร็วขึ้น
-ภาษาธรรมชาติ (Natural languages) การเขียนโปรแกรมในยุคที่สี่ จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและโครงสร้างของภาษาอย่างเคร่งครัด แต่ในยุคของภาษาธรรมชาติอาจไม่จำเป็น แต่โดยปกติจะนำมาประยุกต์ใช้กับระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial lntelligence) ซึ่งนิยมใช้ในวงการแพทย์และธุรกิจ

การบริหารทรัพยากรซอฟต์แวร์
ทรัพยากรซอฟต์แวร์มีคุณค่าและมูลค่าไม่น้อยไปกว่าทรัพยากรฮาร์ดแวร์ การทำงานของทั้งสองสิ่งจำเป็นต้องประสานสอดคล้องกัน ในการตัดสินใจเลือกใช้ซอฟต์แวร์จึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวเนื่องกันโดยในการพิจารณานั้นควรจะคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
-การจัดหาทรัพยากรซอฟต์แวร์ ซึ่งมีหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะขององค์การ ตลอดจนลักษณะการคำนึงงานในส่วนต่าง ๆ การเลือกซอฟต์แวร์ว่าจะหามาด้วยวิธีให้บุคลากรในองค์การพัฒนาขึ้นมาเอง หรือจ้างบริษัทภายนอก
-การเลือกใช้ซอฟต์แวร์สำหรับองค์การ แบ่งออกเป็น 3 ประการ
1. ความเป็นมาตรฐาน
2. ความเหมาะสมและคุณสมบัติของซอฟต์แวร์นั้น ๆ
3. ความเข้ากันได้



จัดทำโดย นายนิวัฒน์ ก๋าใจ 49324228

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ปริศนาอักษรไขว้

ปริศนาอักษรไขว้
1. อุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณระหว่างแอนะล็อก กับ ดิจิทัล
= Modem
2. ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล
= Data
3. โปรแกรมเฉพาะที่ช่วยให้อุปกรณ์รับ/ส่งข้อมูลสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้
= Device drivers
4. คอมพิวเตอร์มือถือที่ใช้แพร่หลายที่สุด
= PDA
5. บริการบนอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้เข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ โดยผ่านส่วนติดต่อแบบมัลติมีเดีย
= WWW
6. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
= Internet
7. อุปกรณ์ทางกายภาพของไมโครคอมพิวเตอร์
=Hardware
8. ไฟล์ที่สร้างจากการโปรแกรมประมวลผลคำ
= Document files
9. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
=Information
10. กฎหรือแนวทางในการใช้ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และข้อมูล
=Procedures
11. ชุดคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
= Software
12. ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ผลิตงานต่าง ๆ
=Peoples
13. ไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง
=Tablet PC
14. ส่วนที่ทำหน้าที่ประสานงานกับทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
= Operating system
15. ไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล
= Database files
16. องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ
= People
17. อุปกรณ์ที่บรรจุด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก
= Chassis

ข่าวสารสนเทศ

ฮาร์ดไดรฟ์เดสท์ท็อปประหยัดพลังาน

ฮิตาชิ เปิดตัวฮาร์ดไดรฟ์เดสก์ท็อปประหยัดพลังงานสูงที่สุดในโลก เมื่อเทียบกับรุ่นก่อน ความเร็ว 7,200 รอบต่อนาที ความจุ 250-500 กิกะไบต์ มร.ชินจิโร่ อิวาตะ รองประธานฝ่ายบริหาร บริษัท ฮิตาชิ จีเอสที โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับโปรแกรมจัดเรตติ้งการประหยัดพลังงาน เป็นแนวคิดใหม่ที่สำคัญมาก ฮาร์ดไดรฟ์ Deskstar P7K500 ได้ผสานนวัตกรรมประหยัดพลังงานหลายอย่างรวมอยู่ในฮาร์ด ไดรฟ์เพียงตัวเดียว ทำให้เกิดผล ลัพธ์ในรูปแบบการจัดการพลังงานชั้นนำที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้พลังงานของระบบ
Deskstar P7K500 ประหยัดพลังงานเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับฮาร์ดไดรฟ์ที่เคยมีมา และเทียบกับฮาร์ดไดรฟ์ในระดับเดียวกัน ใช้หัวอ่านและดิสก์บันทึกข้อมูลในแนวดิ่งด้วย แถบแม่เหล็ก (พีเอ็มอาร์) รุ่นที่ 2 ทำให้สามารถเพิ่มความจุต่อพื้นที่เป็น 250 กิกะไบต์ต่อแพลตเตอร์ คุณสมบัติที่โดดเด่นในด้านการประหยัดพลังงานของ Deskstar P7K500 นอกจากจะช่วยสนับสนุนโครงการ “สีเขียว” แล้ว ยังช่วยประหยัดพลังงานทั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และยังเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ผลิตพีซีในการสร้างเครื่องมือระดับมาตรฐาน ENERGY STAR พีซีระดับมาตรฐาน ENERGY STAR จะช่วยประหยัดพลังงานในขณะที่ไม่มีการปฏิบัติงาน.

ที่มา เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เวลา 13:55 น.
จัดทำโดย นาย นิวัฒน์ ก๋าใจ 49324228