วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กรณีศึกษาบที่ 14การโมตีแบบฟิชชิ่งลูกค้าธนาคาร

กรณีศึกษาบทที่ 14
1.การกระทำดังกล่าวเป็นเทคนิคการโจมตีแบบฟิชชิ่งอย่างไร
คือ เป็นการฉ้อโกง โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการทำธุรกรรม โดยทางผู้ไม่หวังดีจัดทำหน้าเว็บที่คล้ายกับหน้าเว็บจริงของธนาคารขึ้นมา เพื่อให้ลูกค้ากรอบข้อมูลส่วนตัว เกี่ยวกับการเงินไปยังกลุ่มที่ไม่หวังดี เช่น การส่งหมายเลขบัตรเครดิต รหัสผ่าน โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว ว่ากำลังถูกหลอก

2.ยกตัวอย่างกรณีศึกษาการโจมตึแบบฟิชชิ่งมา 2 ตัวอย่าง
คือ
2.1 การแอบอ้างตัว เช่น นาย ก. แอบอ้างตนว่าเป็นนาย ข. โดยการส่งอีเมล์และเอกสารปลอมที่เสดงตนว่าเป็นนาย ข. จริงเพื่อขอเปลี่ยนแปลงเจ้าของเว็บไซต์จากนาย ข. เป็นนาย ก. ดังนั้นนาย ก. ก็จะได้รับผลประโยชน์ต่าง ๆ โดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าสิทธิในการใช้ที่อยู่อินเทอร์เน็ตนั้น
2.2 การฉ้อโกง หรือการสแกมทางคอมพิวเตอร์ คือ การส่งข้อความหรือโฆษณาบนเว็บไซต์ว่าท่านสามารถเดินทางเข้าพัก/ท่องเที่ยวแบบหรูในราคาถูก แต่เมื่อไปใช้บริการจริง กลับไม่เป็นอย่างที่บอกไว้หรือในบางครั้งอาจต้องมีการจ่ายเพิ่มเติมซึ่งไม่ได้แจ้งไว้ล่างหน้า

3.ท่านมีวิธีการหลีกเลี่ยงและป้องกันกลลวงจากฟิชชิ่งได้อย่างไร
คือ
3.1. การใช้ Username หรือ User ID และรหัสผ่าน (Passwoed)
3.2. การใช้วัตถุใด ๆ เพื่อการเข้าสู่ระบบ ได้แก่ บัตรหรือกุญแจ
3.3. เป็นการใช้อุปกรณ์ตรวจสอบลักษณะส่วนบุคคลเพื่อการอนุญาตให้ใช้ ระบบ เป็นต้น


คำถามท้ายบท

1.อธิบาย เปรียบเทียบ พร้อมยกตัวอย่างของไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจัน
ไวรัส เวิร์ม คือ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ที่กระจายตัวเอง เช่นเดี่ยวกับไวรัส โดยการแพร่กระจาย จากคอมพิวเตอร์ สู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผ่านอีเมล์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้เปิดไฟล์อ่าน เวิร์มจะเริ่มทำงานโดยการคัดลอกตัวเองและส่งผลจากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังเครื่องของคนอื่น ๆ ที่มีรายชื่ออยู่ใน E-mail เช่น “Nimda, “W32.Sobig”, W32.bugbeor” “W32.blaster” and “love bug” ซึ่งเป็นไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์ที่กำหนดหัวเรื่องว่า “Love You”
ม้าโทรจัน (Trojan torse) เป็นโปรแกรมรวมแต่แตกต่าง จากไวรัสและเวิร์มที่ ม้าโทรจัน จะไม่กระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่น ๆ แต่ ม้าโทรจันจะแฝงอยู่กับโปรแกรมอื่น ๆ ที่อาจส่งผ่านมาทางอีเมล์ เช่น Ziped_filessexe. เมื่อมีการเรียกใช้ไฟล์ โปรแกรมก็จะลบไฟล์ที่อยู่ในฮาร์ดิสก์
2.สปายแวร์ Sotware คือ อะไร และมีวิธีการติดตั้งในเครื่องคอมฯ ได้อย่างไร
คือ ไวรัสที่เป็นไฟล์ภาพกราฟิก มีขนาดเล็กและซ่อนตัวอยู่ที่เว็บเพจ ที่รวบรวมข้อมูลและพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ แล้วส่งข้อมูลเหล่านั้นกลับไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และวิธีการติดตั้งของเครื่อง คอมพิวเตอร์ คือ การติดตั้งจากแผ่น Driver หรือ การดาว์นโหลดจากอินเทอร์เน็ตมา เช่น โปรแกรม
Ad-aware ,Spycop เป็นต้น

3.ท่านมีวิธิการหลีกเลี่ยงการเป็นเป้าหมายของสแปมเมล์อย่างไรบ้าง
คือ
3.1 เป็นการบล็อกสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องจดหมาย
3.2 การติดตั้งโปรแกรม แอนตี้สแปม (Aati-Spam Program) ที่ช่วยกรองและกำจัดสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องเมล์
4. ท่านคิดว่าปัญหาในเรื่องความปลอดภัยใดบ้างที่มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นจากการใช้งานอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ตในองค์การธุรกิจ และจะมีวิธีป้องกันหรือแก้ไข้ปัญหาอย่างไร
คือ ปัญหาในเรื่องอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้นโดยป้องกันปัญหานั้น คือ ควรมีระบบตรวจสอบการเข้าใช้ เพื่อทำการอนุญาตการใช้ระบบนั้น เช่น การตรวจสอบเสียง ลายนิ้วมือ ฝ่ามอ ลายเซ็น และรูปหน้า เป็นต้น โดยอุปกรณ์จะทำการแปลงลักษณะส่วนบุคคลให้อยู่ในรูปของดิจิทัล แล้วทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลใน คอมพิวเตอร์ ถ้าข้อมูลไม่ตรงกับคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ก็จะปฏิเสธการเข้าสู่ระบบ

5. ท่านคิดว่าการทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด และการดาว์นโหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ต คิดว่าอย่างไร
คือ การทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เพราะซีดีเพลงที่ได้มานั้น ไม่ได้มาโดยง่ายเลย และยังเป็นลิขสิทธิ์ ของค่ายเพลงนั้นๆ ด้วย และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ต ถือว่าผิดจริยธรรมเหมือนกัน แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาสูง ดังนั้นการดาว์นโหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นเรื่องปกติ

6.1. คิดว่าการสอดส่องของผู้บริหารฝ่ายจัดการข้อมูลนั้น ได้ผิดจริยธรรม เพราะว่าพนักงานถึงจะใช้ระบบอีเมล์เป็นเรื่องส่วนตัว แต่ก็ต้องดูด้วยว่าใช้ในเวลาทำงาน หรือว่าเวลาว่างไม่ควรด่าว่าให้กับพนักงาน
6.2. การใช้อีเมล์เพื่อการสื่อสารส่านตัวของพนักงาน คิดว่า ไม่ผิดจริยธรรม เพราะว่าการใช้อีเมล์ของ นอกจากที่ได้กล่าวไว้แล้ว อาจใช้ติดต่อกับลูกค้าเป็นการส่วนตัวก็ได้
6.3. การที่ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัยได้ส่งรายชื่อพนักงานให้กับผู้บริหาร ไม่ผิดจริยธรรม แต่การทำงานร่วมกันควรตักเตือนก่อนและให้คำเสนอแนะที่ดีแก่พนักงานเหล่านั้น
6.4. การลงทาพนักงานที่กระทำผิดในกรณีนี้เป็นการกระทำผิดจริยธรรม เพราะว่า การลงโทษพนักงานที่ทำงานมาด้วยกัน ไม่รู้กี่ปีต่อกี่ปี นั้น อาจทำให้พนักงานเสียขวัญและกำลังใจในการทำงานก็ได้ และพนักงานบางคนอาจลาออกจากงาน ก็จะส่งผลกระทบในตำแหน่งงานนั้นด้วยตามมา
6.5. คิดว่าบริษัทควรแก้ไขในการดำเนินครั้งนี้ คือ ควรจัดการอบรมให้กับพนักงานทั้งหมดในเรื่องของการใช้อีเมล์ และกำหนดให้ใช้อีเมล์ในการติดต่อกับลูก

สรุปบทที่ 14

จริยธรรมและการรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

จริยธรรม หรือ Ethics หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฎิบัติหรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ หรืออาจหมายถึงหลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฎิบัติร่วมกันในสังคม

จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสามารถจะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น 1) ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) 2)ความถูกต้อง (Information Accuracy) 3)ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property) 4)การเข้าถึงข้อมูล(Data Accessibility)

ในด้านกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเทศไทยก็ได้มีการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 6 ฉบับ คือ
1)กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
2)กฎหมายลายมือซื้ออิเล็กทรอนิกส์
3)กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
4)กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์
5)กฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนตัว และ
6)กฎหมายลำดับรอง รัฐธรรมนูญ มาตรา 78 หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์(Computer Crime หรือ Cyber Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ เช่นการโจมกรรมหรือความลับขอลบริษัท การบิดเบือนข้อมูลการฉ้อโกง การฟอกเงิน การถอดรหัสโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงการก่อกวนดดยกลุ่มแฮกเกอร์ เช่นไวรัสคอมพิวเตอร์ การทำลายข้อมูลและอุปกรณ์ เป็นต้น คอมพิวเตอร์เป็นทั้งเครื่องและเป้าหมายของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ในฐานนะที่ป็นเครื่องมือ เช่น ใช้ในการขโมยเงิน รายชื่อลูกค้า ข้อมูลส่วนบุคคลหมายเลขบัตรเครดิต และอื่นๆ ส่วนคอมพิวเตอร์ในฐานนะที่เป็นเป้าหมายของการก่ออาชญากรรม เช่นแฮกเกอร์เข้าไปก่อน ทำลายระบบของผู้อื่น

วิธีการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลและคอมพิวเตอร์ตากบุคคลที่ไม่ไดรับอนุญาตมีดังนี้
1)การใช้ Username หรือ User ID และรหัสผ่าน (Password)
2)การใช้วัตถุใดๆเพื่อการเข้าสู่ระบบ ได้แก่ บัตร หรือกุญแจ
3)การใช้อุปกรณ์คุณภาพ(Biometric Device)เป็นการใช้อุปกรณ์ที่ตรวจสอบลักษณะส่วนบุคคลเพื่อการอนุญาตใช้โปรแกรม ระบบ หรือการเช้าใช้ห้องคอมพิวเตอร์
4)ระบบเรียกกลับ เป็นระบบที่ผู้ใช้ระบุชื่อและรหัสผ่านเพื่อขอเข้าไปใช้ระบบปลายทาง
เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ ขณะเดียวกันก็สามารถบั่นทอนความรู้ได้ หากนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง กำหนดนโยบายเกี่ยวกับจริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์และเครือค่ายจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อหย่อยงานต่างๆ ควรกำหนดระเบียบ กฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นแนวทางในการปฎิบัติร่วมกันและผู้ใช้ก็ควรที่จะปฎิบัติตามระเบียบอย่าเคร่งครัด อีกทั้งช่วยกันสอดส่องดูและป้องกันอาชญากรรมตลอดจนการรักษาสภาพแวดล้อมของโลกให้น่าอยู่ต่อไป

กรณีศึกษาบที่ 13

กรณีศึกษา : บริษัท ทรู คอร์บอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กับการจัดการความรู้


1.เป้าหมายในการจัดการความรู้ของบริษัท ทรู และยุทธศาสตร์ของบริษัทเกี่ยวข้องกันอย่างไร
เป้าหมายและยุทธศาสตร์เกี่ยวข้องกัน คือ เป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าโดยการพัฒนาการดำเนินงาน และการแข่งขันทางศักยภาพขององค์การ

2.เทคโนโลยีสารสนเทศใดบ้างที่มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้ของบริษัท ทรู และเทคโนโลยี บล็อก (Blog หรือ Weblog) จะสามารถถูกนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการสร้าง การแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ได้อย่างไร
คือ ก่อนที่จะนำ (Blog หรือ Weblog) มาใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ (Blog หรือ Weblog) ก่อนและสร้าง บล็อก ขึ้นมาเพื่อเป็นการสนับสนุนในด้านการแช่ร์ประสบการณ์ และเปลี่ยนความรู้ ผ่าน (Blog )


คำถามท้ายบทที่ 13

1. แตกต่างกัน สารสนเทศคือ ข้อมูล ข่าวสาร ข่าว ข้อเท็จจริง
ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ อยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป
เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ เสียง สัญลักษณ์ หรือกลิ่น ที่ถูกนำมา
ผ่านกระบวนการประมวลผล ส่วนความรู้คือ การผสมผสานของ
ประสบการณ์ สารสนเทศ ความเข้าใจ ทักษะและความเชี่ยวชาญ
รวมถึงสิ่งที่ได้รับการสั่งสมมาการการศึกษาเล่าเรียน ค้นคว้าและถ่ายทอด

2. ช่วยเก็บรักษาความรู้ ลดระยะเวลาลาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการ
การเรียนรู้ใหม่ ปรับปรุงประสิทธิภาพช่วยเพิ่มผลผลิต สร้างวัตกรรมใหม่
ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ แสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนความรู้
ช่วยให้องค์การมีความพร้อมในการปรับตัว การเปลี่ยนแปลง การดำเนินธุรกิจเพื่อความอยู่รอดและได้เปรียบทางการแข่งขัน

3. ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสาร
ระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์
การเผยแพร่สื่อผ่านระบบเครือข่าย การระดมความคิดผ่านระบบเครือข่าย ซอฟต์แวร์สนับสนุนการทำงานร่มกันเป็นทีม บล็อก (Blog หรือ Weblog)

4. เว็บศูนย์รวมเปรียบเหมือนประตูสู่การเข้าระบบการจัดการเรียนรู้ขององค์การ
ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวก โดยการเข้าตรงมาที่จุดเดียวก็สามารถเชื่อม
ต่อไปยังข้อมูลหรือความรู้ต่างๆทั่วองค์การ ส่วน บล็อก(Blog หรือWeblog)
เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ ปรือประสบการณ์ ผ่านพื้นที่เสมือน (Cyber Space)

5. ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความรู้ขององค์การให้ประสบความสำเร็จ

-ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร
-มีเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่ชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์การ
-มีวัฒนธรรมองค์การที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนและแช่งปันความรู้ภายในองค์การ
-มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาให้เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้
เช่น ค้นหาความรู้ วิเคราะห์ข้อมูล จัดระเบียนและดึงเอาควรรู้ไปให้อย่างเหมาะสม

-ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกระดับ

-มีการวัดผลของการจัดการความรู้
-มีโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับหรือเอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้

-มีการพัฒนาการจัดการคงามรู้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื้อง

สรุปบทที่ 13 เทคโนโลยีและการจัดการความรู้

Knowledge Management: KM ความรู้เป็นการผสมผสานของประสบการณ์
สารสนเทศ ความเข้าใจ ทักษะและความเชี่ยวชาญ รวมถึงสิ่งที่ได้รับการสั่งสมมาจาก
การศึกษาเล่าเรียน ค้นคว้า และถ่ายทอด
ประเภทของความรู้
1ความรู้โดยนัย ความรู้ซ่อนอยู่ในตัวบุคคล
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง ความรู้ที่เป็นเหตุและผล ตัวบุคลแสดงออกมา
ความรู้โดยนัยมี
รู้แบบการจัดการความรู้
- เป็นการจัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม
- การสื่อสาร
- กระบวนการและเครื่องมือ
- เรียนรู้
- การวัดผล
- การยกย่องชมเชยและให้รางวัล
ความรู้เป็นทรัพย์สินทางกลยุทธ์ขององค์การ การประยุกต์ใช้ความรู้ก่อให้เกิดนวัตกรรมซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันขององค์การ
การจัดการความรู้ไม่ได้เป็นเทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการพัฒนาการจัดการความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์การควรมีกระบวนการในการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบที่เหมาะสมกับบริบทขององค์การ เนื่องจากองค์การต่างก็มีลักษณะเฉพาะของตนเองที่ทำให้แตกต่างจากองค์การอื่นอย่างไรก็ตามการจัดการความรู้นอกจากจะต้องคำนึกถึงบุคลากรในองค์การแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการด้วย อย่างเช่น วัฒนธรรมองค์การ การสนับสนุนจากผู้บริหาร การมีทิศทางและกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการจัดการความรู้ มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้ มีการวัดผลของการจัดการความรู้ และการมีโครงสร้างพื้นฐานที่รองรองหรือเอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กรณีการศึกษาบทที่ 12 การพัฒนาระบบสารสนเทศ

กรณีการศึกษาบทที่ 12 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
1. วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศมีหลายวิธีด้วยกัน ในกรณีของระบบติดตามอากาศยานข้างต้นมีความเกี่ยวข้องกับการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ ซึ่งเป็นภารกิจหลักของวิทยุการบิน ฯ ท่านคิดว่าควรเลือกใช้วิธีหรือแนวทางใดเพื่อให้ได้มาซึ่งระบบดังกล่าว

-ในการได้มาของระบบต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง ดังนั้น ควรเลือกใช้แนวทางในการพัฒนาระบบ คือ
1. การกำหนดและเลือกโครงการ
2. การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
3. การวิเคราะห์ระบบ
4. การออกแบบระบบ
5. การพัฒนาและติดตังระบบ
6. การบำรุงรักษา
โดยที่วงจรของการพัฒนาระบบจะมีการกำหนดรูปแบบในการพัฒนาอย่างมีแบบแผน ขึ้นอยู่กับลักษณะวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของแต่ละระบบให้เหมาะสมและบรรลุผลตามกรอบ เวลา ที่กำหนด และนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ


2.ระบบติดตามอากาศยานมีความสำคัญต่อวิทยุการบินฯ อย่างไร และเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศจะได้รับผลกระทบจากการนระบบนี้มาใช้หรือไม่
-ระบบมีความสำต่อวิทยุการบินฯ ในการแก้ไขปัญหาในการดำเนินงาน การควบคุมจราจรทางอากาศ และการให้บริการจราจรทางอากาศบริเวณสนามบินทุกแห่งของประเทศ เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศจะไม่ได้รับผลกระทบจากการนำระบบนี้มาใช้เพราะ ระบบที่เจ้าหน้าที่ควบคุมอยู่ได้รับการพัฒนาที่มาตรฐาน ส่วนเจ้าหน้าที่ได้รับการฝึกอบรมในการใช้ระบบควบคุมเพื่อมิให้เกิดความผิดพลาดระหว่างใช้งาน และระบบได้มีการเชื่อมโยงโดยมีระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลข้อมูลและสร้างฟังก์ชันการทำงานให้มีศักยภาพของสนามบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบไฟฟ้าสนามบิน แลระบบสารสนเทศสนามบินของบริษัทท่าอากาศยาน เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบได้และสามารถทำได้โดยอัตโนมัติ พร้อมทั้งมีระบบติดตั้งหอบังคับการบินสำหรับกรณีฉุกเฉิน เพื่อความปลอดภัยในการบินและมิให้การบินต้องหยุดชุงัด



คำถาม เกี่ยวกับการพัฒนาระบบสารสนเทศ

1.เหตุใดองค์การจึงต้องมีการพัฒนาระบบสารสนเทศ
-เพราะ ระบบงานเดิมไม่สามารถให้ข้อมูลหรือการทำงานได้ตามต้องการ ในขณะที่กำลังดำเนินงานที่มีหลายขั้นตอน เกิดความยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูล เพื่อที่จะนำข้อมูลเทหล่านั้นมาทำการสรุปสำหรับการติดตามการปฏิบัติงาน และไม่สามารถสนับสนุนข้อมูลให้กับผู้บริหาร ได้เป็นอย่างดี จึงจำเป็นต้องมากรปรับเปลี่ยนพัฒนาระบบ เพื่อสามารถช่วยให้ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และกระบวนการบิหารมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2.นักวิเคราะห์ระบบมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาระบบอย่างไร และหากท่านต้องการเป็นนักวิเคราะห์ระบบที่มีคุณภาพท่านควรต้องมีทักษะในด้านใดบ้าง
-นักวิเคราะห์ระบบมีบทบาทสำคัญ คือ ศึกษาและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบงานและความต้องการของผู้ใช้ เพื่อนำมาวิเคราะห์ออกแบบระบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ให้ และถ้าหากต้องการนักวิเคราะห์ระบบที่มีคุณภาพต้องมีทักษะในด้านเทคนิค ด้านการวิเคราะห์ ด้านบริหารจัดการ และด้านการติดต่อสื่อสาร

3.ขั้นตอนในการพัฒนาระบบและผลลัพธ์ที่ได้จากแต่ละขั้นตอนมีอะไรบ้าง
-ผลลัทธ์จากการกำหนดและเลือกสรรโครงการ มี 4 ขั้นตอนในการพิจารณาระบบ
3.1 อนุมัติโครงการ คือให้ดำเนินโครงการในขั้นตอนการพัฒนาระบบต่อไป
3.2 ชะลอโครงการ คือ เนื่องขากองค์การยังไม่มีความพร้อม
3.3 ทบทวนโครงการ คือ โดยให้นำโครงการไปปรับแก้แล้วจึงนำเสนอ
3.4 ไม่อนุญาติ คือ ไม่มีการดำเนินโครงการนั้นต่อไป
ผลลัทธ์ ของการเริ่มต้นและวางแผนโครงการ คือ แผนงานของโครงการและรายงานการสำรวจระบบเบื้องต้น

ผลลัทธ์ ของการวิเคราะห์ระบบ คือ เป็นการรายงานการวิเคราะห์ระบบซึ่งจะแสดงรายละเอียดในการวิเคราะห์ระบบปัจจุบัน
ผลลัทธ์ ของการออกแบบระบบ คือ รายงานการออกแบบระบบซึ่งจะแสดงการออกแบบระบบทั้งหมด
ผลลัทธ์ ของการดำเนินการระบบ คือ เพื่อสร้างระบบและติดตั้งระบบจากการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด

4.แรงจูงใจต่อการเลือกแหล่งภายนอกให้มาพัฒนาหรือดูแลระบบสารสนเทศให้กับองค์การมีอะไรบ้าง และวิธีนี้มีข้อพังระวังอย่างไร

-ระบบประกอบด้วย
ข้อพึงระวัง
4.1. ด้านความคุ้มค่าทางการเงิน -อำนาจในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศลดลง
4.2 ด้านคุณภาพและความยืดหยุ่นในการทำงาน -การรั่วไหลของข้อมูล
4.3 ด้านความสามารถในการแข่งขัน -ความไม่สนใจติดตาดความรู้ด้านเทคโนโลยี
-การพึ่งพิงผู้ให้บริการ

5.ท่านคิดว่าปัจจัยของการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จควรประกอบด้วยอะไรบ้าง
-ปัจจัยของการพัฒนาระบบสารสนเทศประกอบด้วย
5.1 การสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร
5.2 มีการกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ชัดเจน
5.3 มีทีมงานพัฒนาที่มีความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาระบบ
5.4 มีความสามรถในการรวบรวมปัญหาและความต้องการของระบบ
5.5 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
5.6 มีการบริหารโครงการพัฒนาระบบสารสนอย่างมีประสิทธิภาพ

กรณีการศึกษาบทที่ 11

กรณีการศึกษาบทที่ 11

1.ระบบที่ใช้ในบริษัทเซผรอน เทคซาโก จัดว่าเป็นระบบบริหารทรัพยากรองค์การแบบขยายขีดความสามารถ (Extended ERP) อย่างไร
เพื่อกำหนดปริมาณของน้ำมันที่ควรจะกลั่นเป็นรายเดือน รายวัน ด้วยการตรวจสอบการวางแผนเพื่อการทำกำไรเพิ่มขึ้น ด้วยความสามารถในการกลั่นและการค้าปลีกที่เท่ากัน และอาจสามารถทำนายความต้องการต่อการใช้จ่ายก็ได้
2.ประโยชน์ที่ทางบริษัทเซฟรอน เทซาโก ได้รับหลังจากการเปลี่ยนระบบมีอะไรบ้าง
ด้านการเติมก๊าซที่มีช่องเติมน้ำมันอย่างน้อย 8 ช่อง มีการบริการล้างรถที่มีอุปกรที่ทันสมัย ที่ไม่สามเห็นได้โดยคนขับรถ แต่ละแท็งก์ควบคุมโดยจอที่ดูระดับแบบอิเล็กทรอนิกส์ จอจะทำการส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับสถานะของแท็งก์เข้ากับสายเคเบิลไปยังระบบการจัดการของสถานี แล้วส่งเป็นสัญญาณดาวเทียมไปยังระบบบริหารสินค้าของสำนักงาน เมื่อระดับของก๊าซในแท็งก์ต่ำกว่าระดับที่กำหนด ข้อมูลจะส่งไปทำให้สถานีไม่ขาดแคลงก๊าซ
3.ท่านสามารถจะเสนอแนะแนวทางในการนำระบบ ERP มาใช้ปฏิรูปองค์การธุรกิจได้อย่างไรบ้าง
-1. การศึกษาและวางแนวคิด พิจารณาว่า องค์การต้องการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน หรือไม่ และจำเป็นต้องนำระบบมาใช้เพื่ออะไร
-2. การวางแผนนำระบบมาใช้ ต้องมีเป้าหมายและขอบข่ายของการนำระบบมาใช้ โดยต้องผ่านการอนุมัติจากผู้บริหารก่อน
-3. การพัฒนาระบบ ว่าระยะเวลาในการพัฒนาระบบต้องมีการระบุ เป้าหมาย พร้อมสำรวจว่าปัจจุบันต้องปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงอย่างไร
-4. การนำระบบมาใช้งานต้องประเมินผล เพื่อสามารถนำข้อมูลมาแก้ไขและขยายขีดความสามารถ
ให้กับ ระบบได้อย่างเหมาะสม

สรุปบทที่ 12 การพัฒนาระบบสารสนเทศ

ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
-การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน
-การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี
-การปรับองค์การแบะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
-กระบวนการทางธุรกิจ
-บุคลากร
-วิธีการและเทคนิค
-เทคโนโลยี
-งบประมาณ
-ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การ
-การบริหารโครงการ

ทีมงานพัฒนาระบบ
-คณะกรรมการ
-ผู้บริหารโครงการ
-ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ
-นักวิเคราะห์ระบบ
-ผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิค
-ผู้ใช้และผู้และจัดการทั่วไป

หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
1. คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบ
2. เข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด
3. กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบ
4. กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ
5. ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่
6. เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิกหรือทบทวนระบบสารสนเทศที่กำลังพัฒนา
7. แตกระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาออกเป็นระบบย่อย
8. ออกแบบระบบให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือการปรับเปลี่ยนในอนาคต

ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
1. การกำหนดและเลือกโครงการ
2. การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
3. การะวิเคราะห์ระบบ
4. การออกแบบระบบ
5. การพัฒนาและติดตั้งระบบ
6. การบำรุงรักษาระบบ

วงจรการพัฒนาระบบ
1. การกำหนดและเลือกสรรโครงการ
มีการตั้งกลุ่มบุคคลซึ่งอาจอยู่ในรูปของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาโครงการ จัดกลุ่ม จัดลำดับความสำคัญ และเลือกโครงการที่เหมาะสม
2. การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
-การศึกษาความเป็นไปได้
-การพิจารณาผลประโยชน์หรือผลตอบแทนที่จะได้รับจากโครงการ
-การพิจารณาค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนโครงการ
-การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการพัฒนาระบบสารสนเทศ
3. การวิเคราะห์ระบบ
-Fact-Finding Tecghnique กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล
-Joint Appplication Design (JAD) การประชุมร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องการพัฒนาระบบ
-การสร้างต้นแบบ
4. การออกแบบระบบ
-การออกแบบเชิงตรรกะ
-การออกแบบเชิงกายภาพ
5. การดำเนินการระบบ
-จัดซื้อหรือจัดหารฮาร์ดแวร์
-เขียนโปรแกรมโดยโปรแกรมเมอร์
-ทำการทดสอบ
-การจัดทำเอกสารระบบ
-การถ่ายโอนระบบงาน
-6. การบำรุงระบบ
-วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศ
-การพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม
-การสร้างต้นแบบ
-การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้
-การใช้บริการจากแหล่งภายนอก
-การใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปประยุกต์

สรุปบทที่ 11

ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)
กระบวนการทางธุรกิจที่สนับสนุนโดยระบบ ERP
การจัดการกระบวนการทางธุรกิจทั้งหมดในองค์การไม่ว่าจะเป็นกระวนการผลิตสินค้า กระบวนการฝ่ายการเงินและการบัญชี การะวนการขายและการตลาด การบวนการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และอื่นๆ เพื่อให้กระบวนการทำงานภายในองค์การเป็นไปโยอัตโนมัติ รวดเร็ว ไม่ซ้ำซ้อน สามารถช่วยลดด้านต้นทุนทั้งระบบได้
ประโยชน์และความท้าทายของระบบ ERP
-กระบวนการบริหาร
-เทคโนโลยีพื้นฐาน
-กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว
ความท้าทาย
-การเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินธุรกิจและวัฒนธรรมการทำงานภายในองค์การ
-การบริหารโครงการระบบสารสนเทศขนาดใหญ่และค่าใช้จ่ายในตอนเริ่มต้นที่สูง
-ความไม่ยืดหยุ่นในการปรับซอฟต์แวร์
ขั้นตอนการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์การ
1. การศึกษาและวางแนวคิด
2. การวางแผนนำระบบมาใช้
3. การพัฒนาระบบ
4. การใช้งานและปรับเพิ่มความสามารถ
โครงสร้างของซอฟแวร์ ERP
1. ซอฟต์แวร์โมดูล
2. ฐานข้อมูลรวม
3. ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการ
4. ระบบสนับสนุนการพัฒนาแบะการปรับเปลี่ยน
ปัจจัยในการพิจารณาตัดสินใจเลือกซอฟต์แวร์ ERP
1. การพิจารณาว่าจะใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปหรือไม่
2. ฟังก์ชันของ ERP สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และความต้องการ ในการนำมาใช้งานขององค์การ
3. ความยืดหยุ่นในการปรับแก้ซอฟต์แวร์
4. ต้นทุนในการเป้ฯเจ้าของระบบ ERP
5. การบำรุงรักษาระบบ
6. รองรับการทำงานหรือเทคโนโลยีในอนาคต
7.ความสามารถของผู้ขาย
การขยายขีดความสามารถของระบบ ERP และระบบเครือข่ายอุตสาหกรรม
จากเดิมมีระบบ ERP ขยายขอบเขตให้เชื่อมโยงกับองค์การภายนอกได้ เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันและประสานกระบวนการทางธุรกิจระหว่างองค์การ
การขยายฟังก์ชันการทำงานของ ERP ให้มีการบูรณการกับซอฟต์แวร์อื่นๆ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และเว็บแอปพลิเคชัน
ตัวอย่างที่ 1 ธุรกิจอะไหล่ยนต์
1. บริษัทมีวัตถุประสงค์อย่างไรในการนำเอาระบบ ERP มาใช้
เพื่อรองรับการขยายตัวของ บริษัท ในอนาคตและเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการบริหารคลังสินค้า และการให้ข่าวสารกับลูกค้า
2.ก่อนนำเองระบบ ERP มาใช้ และเมื่อใช้ระบบ ERP สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไร
- ก่อนนำเอาระบบมาใช้ บริษัท ได้จัดเก็บสินค้าทั้งหมดไว้ภายในบริษัท เช่น การบริการและให้ข้อมูลข่าวสารกับลูกค้า ทุกภาคในประเทศไทย ซึ่งข่าวสารที่ส่งเสริมการขายของบริษัท ลูกค้าบางกลุ่มได้ทราบข่าวสารก่อน แต่บางกลุ่มลูกค้าต้องอาศัยทีมงานของบริษัทที่จะให้ข่าวในการสั่งสินค้าตามรายการในอีกสองวันข้างหน้าเพื่อที่จะสั่งสินค้าตามรายการ ทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้ได้รับข่าวสารล่าช้า บางครั้งต้องทำให้สินค้าหมดไปก็ได้
- นำระบบ ERP มาใช้สามารถแก่ไขปัญหาได้ คือ ทางบริษัทเมื่อเปลี่ยนระบบ มาเป็น ERP ทำให้การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการซื้อและติดตั้งคอมพิวเตอร์เพื่อที่สามารถเรียกดูข้อมูลโดยไม่ต้องรอวันถัดไปและสามารถตรวจสอบดูยอดการสั่งซื้อว่าตรงตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่
ตัวอย่างที่ 2 ดันกิ้นโดนัท
1. การนำเอาระบบ ERP มาใช้ช่วยให้บริษัทลดค่าใช้จ่ายได้อย่างไร
ลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดการกับวัตถุดิบให้มีจำนวนพอเหมาะกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละสาขา ช่วยประปรุงกรบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีการเชื่อมโยงและเก็บรวบรวมข้อมูลของแต่ละสาขาได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ฝ้ายตลาดสามารับข้อมูลขายของแต่สาขาได้
2.ระบบ ERP ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารอย่างไร
ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารด้านการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์แนวโน้มและวางแผนการบริหารงานได้อย่างทันท่วงที

สรุปบทที่ 8

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง Executive Support System : ESS
-บทบามของผู้บริหาร
-บทบาทในการสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดี
-บทบาทด้านข้อมูลข่าวสาร
-บทบาทด้านการตัดสินใจ
ลักษณะข้อมูลสำหรับผู้บริหารระดับสูง
ข้อมูลได้มาจากแหล่งภายในและภายนอกองค์การมีผลทางธุรกิจ ต้องกลั่นกรองและคัดเลือกก่อนจะนำมาวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จากนั้นผู้บริหารจะนำผลที่ได้มาพิจารณาถึงการดำเนินงานว่าเป็นอย่างไร ต้องทำงานปรับปรุงหรือมีปัญหาได้ที่ต้องทำการแก้ไขหรือไม่
-ข้อมุสำหรับผู้บริหารระดับสูง
-ข้อมูลภาพในองค์การ
-ข้อมูลภายนอกองค์การ
-ข่าสารที่ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
-ความหมายของระบบ ESS
-เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง โดยระบบจะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัยตามความต้องการเพื่อใช้ในการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย การวางแผนระยะยาว ระบบ ESS บางครั้งเรียกว่าระบบ EIS
ลักษณะของระบบ ESS
ให้สารสรเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์
ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
เชื่อมโยกับแหล่งข้อมูลภายนอก
สามารถประมวลผลในรูปแบบที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้ปริหาร
มีระบบรักษาความปลอดภัย
เปรียบเทียบระบบ ESS กับระบบสารสนเทศอื่น
ระบบสารสำหรับผู้บริหาร ESS
วัตถุประสงค์หลัก สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
ข้อมูลนำเข้า สรุปจากภายในและภายนอกองค์การ
สารสนเทศผลลัพธ์ ประโยชน์ด้านกลยุทธ์ การคาดการณ์ล่วงหน้า การตอบข้อถาม ดัชนีต่างๆ
ผู้ใช้ ผู้บริหารระดับสูง
รูปแบบของการตัดสินใจ ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง รูแบบไม่ชัดเจน ไม่มีโครงสร้าง
การใช้ข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ การตัดสินใจทางอ้อม ไม่มีกฎเกณฑ์
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DSS
วัตถุประสงค์หลัก สนับสนุนด้านการวางแผนและการตัดสินใจ
ข้อมูลนำเข้า จากระบบ TPS เพื่อการสร้างตัวแบบการตัดสินใจ
สารสนเทศผลลัพธ์ การพยากรณ์ การตอบข้อถาม
ผู้ใช้ ผู้บริหารระดับต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิเคราะห์
รูปแบบของการตัดสินใจ กึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
การใช้ข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ สถานการณ์เฉพาะด้าน
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ MIS
การใช้ข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ ควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติการและสรุปสภาพการณ์
- รูปแบบของการตัดสินใจ จากรายงานกิจรรมตัวแบบไม่ซับช้อน
-สารสนเทศผลลัพธ์ สรุปรายงาน รายงานสิ่งผิดปกติ สารสนเทศที่โครงสร้าง
-ผู้ใช้ ผู้บริหารระดับกลาง
-วัตถุประสงค์หลัก มีโครงสร้างที่แน่นอน
-ข้อมูลนำเข้า สนับสนุนตามรูปแบบแบะระยะเวลาที่กำหนด

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กรณีศึกษาบที่ 10

1.สายการบินนกแอร์มีการนำไอทีมาประยุกต์ในเพื่อสร้างความได้เปรียบคู่แข่งขันอย่างไร
การนำไอทีมาช่วยการดำเนินงานทุกส่วน ทั้งระบบฟรอนต์ เอนด์ และแบ็ก เอนด์ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องคง และงานที่เป็นแบบแมนนวลลง

2.จากกรอบแนวคิดของไวส์แมน สายการบินนกแอร์มีการใช้ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ในด้านใด บ้าง
2.1 กลยุทธ์ทางด้านความแตกต่าง เช่น สายการบินฯ เปิดให้ลูกค้าสามารถสำรองที่นั่งผ่านเว็บไซต์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
2.2 กลยุทธ์ทางด้านราคา เช่น การตั้งราคาตั๋ว โดยจะตั้งราคาที่ต่ำกว่าสายการบินอื่น ๆ หากลูกค้ามีการวางแผนและจองตั๋วล่วงหน้าก็จะได้ราที่ถูกกว่า

กรณีศึกษาบที่ 9

1.ระบบ Authoriszer’s Assistant ช่วยปรับปรุงกระบวนการพิจารณาอนุมัติวงเงินค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของบริษัท เมริกัน เอ็กซ์เพรสอย่างไร
=เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่สามารถเชื่องต่อกับเครื่อง ไอบีเอ็ม เพื่อดึงข้อมูลของลูกค้าจากฐานข้อมูลไอเอ็มเอสมากประกอบการตัดสินใจ

2.ข้อดีของระบบ Authoriszer’s Assistant ที่นำมาใช้ในการประเมินพฤติกรรมในการซื้อสินค้าของลูกค้าในระหว่างการตัดสินใจเพื่อพิจารณาอนุมัติ หรือให้คำแนะนำ
คือ ระบบจะดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูลมา ประเมินผล และตัดสินใจ หรือให้คำแนะนำ ว่าควรจะอนุมัติยอดการใช้จ่ายดังกล่าวหรือไม่ ระบบจะมีการขอข้อมูลเพิ่มเติมของลูกค้าจากร้านค้า เช่น เลขบัตรประจำตัวประชาชน จากกระบวนการไม่จำเป็นต้องใช้การพิจารณาของมนุษย์ เพราะระบบทำการตัดสินใจและส่งข้อมูลผ่านการตัดสินใจให้กับเจ้าหน้าที่พิจารณาด้วยตนเอง พร้อมคำแนะนำที่จะใช้ในการพิจารณาอนุมัติ แต่ถ้าหากเจ้าหน้าที่ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินของระบบ เจ้าหน้าที่สามารถใช้การตัดสินใจของตนเองแทนได้

3.ท่านคิดว่าระบบ Authoriszer’s Assistant ช่วยสนับสนุนการบริการลูกค้าหรือไม่ เพราะเหตุใด
ไม่ เพราะว่า ระบบ Authoriszer’s Assistant เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยพิจารณาการอนุมัติวงเงินของบัตรเครดิตของลูกค้า

4.ข้อมูลที่ไดจากระบบ Authoriszer’s Assistant จะถูกใช้โดยแผนกลงทุนและประกันของบริษัทได้อย่างไร และข้อมูลจากแผนกส่งเสริมลงทุนและประกันจะถูกนำมาใช้ในการให้คำแนะนำของระบบ Authoriszer’s Assistant อย่างไร
คือ ข้อมูลที่ได้จากระบบ Authoriszer’s Assistant แผนกสามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล ไอเอ็มเอส มาประกอบการตัดสินใจได้ เมื่อระบบดึงข้อมูลมา ก็ทำการวิเคราะห์ ประเมินผลการตัดสินใจ หรือให้คำแนะนำ ว่าควรอนุมัติยอดการใช้จ่ายหรือไม่ และหากมีการเตือนถึงความไม่ชองมาพากล ระบบจะขอให้ร้านค้าให้ข้อมูลเพิ่มเติม

5.ระบบเครือข่ายนิวรอน จะช่วยปรับปรุงกระบวนการพิจารณาอนุมัติวงเงินค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตได้อย่างไร และจะถูกนำมาใช้ในแผนกส่งเสริมการลงทุนและประกันได้อย่างไร
=ช่วยในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินและถูกนำมาใช้ในแผนกการลงทุนและประกันในการตรวจสอบหาการฉ้อโกงด้วยบัตรเครดิต โดยการตรวจสอบรายการธุรกรรมที่เกิดขึ้นของ บริษัทบัตรเครดิต

ข่าวไอที

3เดือนซีเกทขายดิสก์ไดร์ฟ50ล้านตัว

ซีเกทประกาศรายรับประจำไตรมาส 2 ปีการเงิน 2008 (ตุลาคมถึงธันวาคม 2007) เติบโตร้อยละ 14 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันเมื่อปีก่อน กำไรสุทธิประจำไตรมาสเติบโตร้อยละ 188 ยอดจัดส่งดิสก์ไดร์ฟจำนวน 50 ล้านตัว สูงกว่าไตรมาสเดียวกันเมื่อปีก่อนร้อยละ 20

บริษัทซีเกท เทคโนโลยี รายงานผลประกอบการสำหรับไตรมาสที่สิ้นสุด ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2007 ด้วยยอดรายรับ 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐ กำไรสุทธิที่ได้รับการรับรองทางด้านบัญชี 403 ล้านเหรียญสหรัฐ และกำไรต่อหุ้น 73 เซ็นต์

สรุปรวมช่วงหกเดือนปลายปี 2007 ซีเกทมียอดรายรับ 6,700 ล้านเหรียญสหรัฐ กำไรสุทธิ 758 ล้านเหรียญสหรัฐ และกำไรต่อหุ้น 1.37 เหรียญสหรัฐ หากไม่รวมค่าใช้จ่ายจากการควบรวมบริษัท ซีเกทจะมีกำไรสุทธิ 804 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีกำไรต่อหุ้นที่ยังไม่ได้รับรับรองทางด้านบัญชี 1.45 เหรียญสหรัฐ

“ผลประกอบการทางการเงินที่ดีของซีเกทในไตรมาสนี้สะท้อนให้เห็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่แข็งแกร่งของบริษัทและการขยายจำนวนผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำให้เราอยู่ในตำแหน่งที่ดี ในสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมที่ดีบ่งบอกได้จากความแข็งแกร่งทั่วทุกตลาดบันทึกข้อมูลในช่วงเวลานี้และการเติบโตอย่างต่อเนื่องของอุปทานทั่วโลก” นายบิล วัทกินส์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของซีเกท (Bill Watkins, Seagate chief executive officer) กล่าว

สำหรับไตรมาสนี้ (สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2008) ซีเกทคาดว่าจะมีรายรับ 3,200-3,300 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีกำไรต่อหุ้นที่ได้รับการรับรองทางด้านบัญชี ประมาณ 57 – 61 เซ็นต์ หากไม่รวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตัดค่าเสื่อมสิ้นของสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน ซึ่งบริษัทได้ซื้อมาและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เกี่ยวกับการควบกิจการเมตาลิงค์ จำนวน 27 ล้านเหรียญสหรัฐ บริษัทคาดว่าจะมีกำไรต่อหุ้นที่ยังไม่ได้รับรองทางบัญชีสำหรับไตรมาสที่สิ้นสุดเดือนมีนาคมประมาณ 62 – 66 เซ็นต์

การคาดการณ์นี้คิดเป็นสัดส่วนรายรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 และกำไรต่อหุ้นร้อยละ 36 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันเมื่อปี
ก่อน

ที่มา นสพ.คอม
7 กุมภาพันธ์ 2551 16:45 น.

กรณีศึกษาบทที่ 8

1.การกำหนดอัตราค่าเช่ารถแต่ละประเภทต้องพิจารณาปัจจัยดังนี้
พิจารณาจาก สารสนเทศเกี่ยวกับสถานที่ ช่วงเทศกาลที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว การสนับสนุน ข้อมูลคู่แข่งขัน รวมถึงพฤติกรราของลูกค้า อย่างชาวต่างชาติก็คิดเป็นอีกราคาหนึ่ง ซึ่งข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลที่มีจำนวนมากจึงต้องการอาศัยระบบ มาช่วยในการตัดสินใจ

2.เพราะเทตุใด บริษัทเฮิร์ตซ์ จึงนำเอาระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงมาใช้
เพราะสามารถสร้างทางเลือกในการตัดสินใจ และมีความสำคัญด้านเชิงกลยุทธ์ได้รวดเร็ว สามารถเข้าถึงข้อมูลในรายละเอียดเป็นระดับลงมาได้รวมถึงความสามารถในการดึงเอาข้อมูลจาก Data Warehouse มาใช้ช่วยวิเคราะห์ของผู้บริหารระดับสูง เพื่อก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และช่วยในการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไป 1.การกำหนดอัตราค่าเช่ารถแต่ละประเภทต้องพิจารณาปัจจัยดังนี้
พิจารณาจาก สารสนเทศเกี่ยวกับสถานที่ ช่วงเทศกาลที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว การสนับสนุน ข้อมูลคู่แข่งขัน รวมถึงพฤติกรราของลูกค้า ซึ่งข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลที่มีจำนวนมากจึงต้องการอาศัยระบบ มาช่วยในการตัดสินใจ

กรณีศึกษาบทที่ 7 ระบบสนันสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับจัดบ้านพักทหาร

1.
1.1 จำเป็นต้องอาศัยระบบ DSS มาช่วยในการตัดสินใจด้วย เพราะว่า การที่จะสร้างบ้านพักทหาร เป็นการซับซ้อนมากหรืออาจเกิดความผิดพลาดก็ได้ ถ้า ไม่มีระบบช่วยในการตัดสินใจ แต่การที่ใช้ระบบช่วยในการตัดสินใจนั้นสร้างทางเลือกได้หลายๆ ทางเลือกในการตักสินใจ และถ้าตัดสินใจไปแล้วเกิดการผิดพลาดหรือไม่บรรลุตามเป้าหมายก็ยังสามารถมาทำการตัดสินใจได้โดยขั้นตอนการตัดสินใจอีกจนกว่าผลสำเร็จ
1.2 ใช้ระบบสนับสนุนการตักสินใจแบบจำลองของระบบ GDSS ซี่งเป็นระบบที่สามารถสร้างทางเลือกในการตัดสินใจโดยที่ สร้างแบบจำลองบ้านพักทหารตามที่ต้องการ แล้วนำมาทำการวิเคราะห์หรือประชุมหาข้อสรุป ทำการตัดสินใจ

(2) องค์ประกอบหลักจองระบบสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับบ้านพักทหารมีอะไร
2.1 ฐานข้อมูล Databasc ประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญ 2 ส่วน
- Off-Post Data ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะสภาพเศรษฐกิจรอบๆ
- On-post Data แหล่งข้อมูลภายในและภายนอกของบ้านพักทหารและฐานทัพ
2.2 ฐานแบบจำลอง Model Basc ประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญ 2 ส่วน
- Regional Economic Model For the Area
- Mocificd Schment Housing Market Analysis

ข่าวไอที

เอดีพีตั้งสาขาในไทยรุกซอฟต์แวร์ด้านรถยนต์

เอดีพีรุกตลาดซอฟต์แวร์บริหารจัดการด้านข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจรถยนต์ ด้วยการตั้งเอดีพี ดีลเลอร์ เซอร์วิส (ไทยแลนด์) ขนเงินลงทุน 2-3 ล้านเหรียญสหรัฐ หวังปั้นไทยเป็นโอปอเรชั่น เซ็นเตอร์เหมือนสิงคโปร์กับโตเกียว
นายพีท แกรนด์สัน ประธานกลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศ บริษัท เอดีพี ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เกี่ยวกับธุรกิจรถยนต์ จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งบริษัทแม่มีรายได้ในปีที่ผ่านมาถึง 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ กล่าวว่า เอดีพีได้เข้ามตั้งสาขาในไทยภายใต้ชื่อเอดีพี ดีลเลอร์ เซอร์วิส (ไทยแลนด์) ด้วยทุนจดทะเบียน 3 ล้านบาท เมื่อวันที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา เพื่อรุกตลาดซอฟต์แวร์เกี่ยวกับการบริหารจัดการสำหรับผู้ประกอบกิจการด้านรถยนต์ในไทย และมีแผนจะลงทุนโดยรวมประมาณ 2-3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสร้างไทยให้เป็นศูนย์เชี่ยวชาญ หรือโอปอเรชั่น เซ็นเตอร์ ของเอดีพี เหมือนกับสิงคโปร์ และศูนย์ที่โตเกียว ที่ทำเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา หรืออาร์แอนด์ดี หรือซอฟต์แวร์เฉพาะด้านตามที่ลูกค้าต้องการ โดยเอดีพีจะสรรหาบุคลากรที่เข้าใจในธุรกิจประเภทนี้จริงๆ และจะส่งคนจากสิงคโปร์มาฝึกอบรมให้

สำหรับเอดีพีมี 2 ธุรกิจหลักคือ 1.จำหน่ายซอฟต์แวร์ให้กับบริษัทผลิตรถยนต์ 2.บิสซิเนส เอาต์ซอสซิ่ง แต่ที่จะเข้ามาทำตลาดก่อนคือซอฟต์แวร์เกี่ยวกับการบริหารจัดการทั้งเรื่องแบ็กออฟฟิศ และฟอนต์ออฟฟิศ อย่างเรื่องการขาย การซ่อมบำรุง เรื่องซีอาร์เอ็มเป็นต้น ทั้งนี้ หากธุรกิจแรกประสบความสำเร็จจะนำธุรกิจประเภทเอาต์ซอร์สซิ่งเข้าทำตลาดในไทย

การเข้ามาทำตลาดในไทยครั้งนี้ เพราะเอดีพีเห็นไทยเป็นตลาดที่มีศักยภาพอีกประเทศหนึ่ง เหมือนกับประเทศอื่นๆ ที่เอดีพีเข้าไปลงทุน ไม่ว่าจะเป็นจีน รัสเซีย ฮังการี เยอรมนี เป็นต้น

“ไทยมีอุตสาหกรรมใหญ่ๆ อยู่ในประเทศ เศรษฐกิจก็มีแนวโน้มโต ส่วนเรื่องการเมืองไม่ใช่ปัจจัยในการพิจารณาเกี่ยวกับการลงทุนของเรา เพราะผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ก็อยู่ที่นี่ ดีลเลอร์ที่ขายรถยนต์ขณะนี้ก็ทำตลาดแบบมัลติแบรนด์ ไม่ใช่เอ็กซ์
คลูซีฟอีกแล้ว”


ที่มา นสพ.คอม
8 กุมภาพันธ์ 2551 08:03 น

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551

สรุปบทที่ 7

ระบบสนันสนุนการตัดสินใจ

การจัดการกับการตัดสินใจ
การจัดการ Management คือ การบริหารอย่างเป็นระบบประกอบด้วยกิจกรรม
ของกลุ่มบุคคลดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การจัดการภายในองค์การ โดนทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
1. การจัดการระดับสูง ผู้บริหารระดับสูง กำหนดวิสัยทัศน์นโยบาย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ วางแผนกลยุทธ์ขององค์กร
2. การจัดการระดับกลาง ผู้บริหารระดับกลาง มีหน้าที่วางแผนยุทธวิธีและประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารระดับต้น
เพื่อให้การดำเนินงานไปอย่างราบรื่น
3. การจัดการระดับต้น ผู้บริหารระดับต้นหรือหัวหน้างาน มีหน้าที่ควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานประจำวัน

การตัดสินใจ

1. การให้ความคิดประกอบเหตุผล รับรู้และตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น วิเคราะห์และตรวจสอบเพื่อแยกแยะและกำหนดรายละเอียด
ของปัญหา
2. การแกแบบ การพัฒนาแบะวิเคราะห์ทางเลือก ประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหา ออกแบบหนทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
3. การคัดเลือก ตัดสินใจจะเลือกที่เหมาะสมกับปัญหามากที่สุด
4. การนำไปใช้ ปฏิบัติและติดตามผลของการปฏิบัติเพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินงานมีประสิทธิภาพหรือมีข้อขัดข้องประการใด
5. การตรวจสอบประสิทธิภาพของการตัดสินใจ ตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นหลังจากการตัดสินใจว่าเป็นอย่างไร หากมีความผิดพลาด
สามารถเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจใหม่

ระดับของการตัดสินใจภายในองค์การ

1. การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีความไม่แน่นอนและไม่สามรุกำหนดขั้น
ตอนการตัดสินใจที่ชัดเจนไวล่วงหน้าได้ เกี่ยวข้องกับปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง
2. การตัดสินใจเชิงยุทธิวิธี เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางเกี่ยวข้องกับปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง
3. การตัดสินใจเชิงปฏิบัติการ เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับล่างเกี่ยวข้องกับปัญหาแบบมีโครงสร้าง

ประเภทของการตัดสินใจ

1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง ปัญหาที่มีขั้นตอนหรือกระบวนการใจการแก้ปัญหาที่แน่ชัด
2. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง ปัญหาที่ไม่สามารถกำหนดกระบวนการตัดสินใจได้ล่วงหน้า
3. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง ปัญหาที่สามารถระบุกระบวนการหรือวิธีการตัดสินใจได้ล่วงหน้าในบางส่วน

ระบบสนันสนุนการตัดสินใจ DSS คือระบบโต้ตอบที่ใช้คอมพิวเตอร์โดยอาศัยความรู้ในระบบต่างๆ ระบบได้รับการออกแบบใช้งานง่ายและสะดวก มีความยืดหยุ่นและสามารถรับรองการเปลี่ยนแปลวข้อมูลได้ โดยระบบจะไม่ทำการตัดสินใจแทนผู้บริหาร แต่จะรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองที่สำคัญเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจผู้บริหารในปัญหากึ่งโครงสร้างและไม่มีโครวสร้าง ระบบ DSSประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ ส่วนจัดการข้อมูล ส่วนจัดการตัวแบบ และส่วยจัดการโต้ตอบโดยที่ระบบ DSS ขั้นสูงจะมี่ส่วนจัดการการองค์ความรู้เป็นอีกส่วนประกอบหนี่ง

ระบบ DSS แตกต่างจากระบบ TPS และระบบ MIS โดยระบบ TPS มีการจัดการข้อมูลสำหรับงานปนะจำวัน มีกระบวนการใช้ระบบที่สอดคล้องกับขั้นตอนปฎิบัติงานและกฎเกณฑ์การมำงานที่ชัดเจนสำหรับระบบ MIS จะให้สารสนเทศเพื่อการควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติงานและสรุปผลงานการดำเนินงานและช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในปัญหาทีแบบโครงสร้างได้

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มหรือ GDSS เป็นระบบแบบโต้ตอบที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสนัยสนุนการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่มบุคคล สมาชิกในกล่มไม่จำเป็นต้องอยู่ที่เดียวกัน ระบบ GDSS ต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านการสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของสมาชิกเข้ากันเพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และความคิดเห็นภายในกล่มได้

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2551

สรุปบทที่ 6 บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์การ

สรุปบทที่ 6 บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์การ
องค์การและสิ่งแวดล้อม
องค์การความหมายทางเทคนิค คือ โครงสร้างทางสังคมอย่างเป็นทางการที่มีความมั่นคง เน้นองค์ประกองขององค์การ 3 ส่วน คือ ปัจจัยหลักด้านการผลิตกระบวนการผลิต และผลผลิต
องค์การความหมายเชิงพฤติกรรมจะใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่า เป็นที่รวมของสิทธิ เอกสิทธิ์ ภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบ
ความหมายขององค์การทั้งสอบมุมมองจะสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยความหมายทางด้านเทคนิคช่วยอธายแนวทางที่องค์การนำนวนมากในตลาดที่มีการแข่งขันกันมีการผสมผสานหรือจัดการเงินทุนแรงงาน และเทคดนโลยีสารสนเทศเข้าด้วยกันอย่างไร ในขณะที่มุมมองเชิงพฤติกรรมจะเป็ฯการมองลึกลงว่าเทคโนโลยีสารสนเทศมีผกระทบต่อการทำงานภายในองค์การอย่างไร
ผลกระทบของระบบสารสนเทศต่อองค์การ
1. ลดระดับขั้นของการจัดการ
2. มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน
3. ลดขั้นตอนการดำเนินงาน
4. เปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ
5. กำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่
องค์การดิจิทัลและองค์การแบบเครือข่าย
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างของระบบสารสนเทศภายในองค์การ ได้รับความนิยมและส่งเสริมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการสร้างช่องทางการตลาด การขาย และให้การสนับสนุนลูกค้า
องค์การเสมือนจริง
1. มีขอบเขตขององค์การไม่ชัดเจน
2. ใช้เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
3. มีความเป็ฯเสิศ
4. มีความไว้วางใจ
5. มีโอกาสทางตลาด
ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
แบบออกเป็น 4 ระดับดังนี้
1. ผู้ปฏิบัติงาน Workers เป็นผู้ที่ทำกิจกรรมประจำวัน เช่น พนักงานพิมพ์เอกสาร เจ้าหน้าที่ห้องสมุด พนักงานบัญชี พนักงานประชาสัมพันธ์ และพนักงานเคาน์เตอร์ธนาคาร
2. ผู้ปริหารระดับปฏิบัติการ Operational Managers หัวหน้างาน
3. ผู้ปริหารระดับกลาง Middle Managers เป็นผู้กำกับการบริหารงานของผู้ริหารระดับปฏิบัติการ วางแผนยุทธวิธีเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย เช่น ผู้จัดการ
4. ผู้บริหารระดับสูง Senior Managers เป็นผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์การ
ประเภทของระบบสารสนเทศ IS
แบ่งได้ 3 ประเภท
1. ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทของธุรกิจ
1.1. ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล
1.2. ระบบสารสนเทศบริหารโรงแรม
1.3. ระบบสารสนเทศธนาคาร
1.4. ระบบสารสนเทศโรงเรียน
1.5. ระบบสารสนเทศโรงภาพยนตร์
2. ระบบสารสนเทศนำแนกตามหน้าที่ของงาน
2.1. ระบบสารสนเทศการผลิตและสินค้าคงคลัง
2.2. ระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์
2.3. ระบบสารสนเทศการตลาด
2.4. ระบบสารสนเทศบัญชี
2.5. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
2.6. ระบบสารสนเทศการเงิน
2.7. ระบบสารสนเทศห้องสมุด
3. ระบบสารสนเทศนำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน
3.1. ปัญญาประดิษฐ์ AI และระบบผู้เชี่ยวชาญ ES
3.2. ระบบสนับสนุนการตัดสินใน DSS
3.3. ระบบสารสนเทศสำนักงาน OIS
3.4. ระบบประมวลผลธุรกรรม TPS
3.5. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ MIS
3.6. ระบสารสนเทศสำหรับผู้ปริหาร EIS
ระบบสารสนเทศที่อิงคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังนี้
1. ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม TPS
1.1. การประมวลผลแบบกลุ่ม
1.2. การประมวลผลแบบทันที
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ MIS
2.1. รางงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด
2.2. รายงานสรุป
2.3. รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ
2.4. รายงานที่จัดทำตามต้องการ
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DSS
4. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง EIS
5. ปัญญาประดัษฐ์ AI และระบบผู้เชี่ยวชาญ ES
6. ระบบสารสนเทศสำนักงาน OIS หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติ OAS

กรณีศึกษา, คำถามบทที่ 6

กรณีศึกษา ระบบประมวลผลภาพใบสั่งของกรมการขนส่งในกรุงนิวยอร์ก
1.ระบบประมวลผลภาพมีผลต่อการกระบวนการออกใบสั่งเรียกค่าปรับในการฝ่ฝืนกฏจราจรของกรมการขนส่งอย่างไร
- ใช้เวลาเร็วขึ้น
- ลดความผิดพลาดจากการพิมพ์ของพนักงาน
- ลดงบประมาณ
- คุณภาพในการทำงานดีขึ้น
2.ระบบประมวลผลภาพเป็นระบบสารสนเทศประเภทใด มีลักษณะอย่างไร
- ระบบสารสนเทศสำนักงาน OIS หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติ OAS

.......................********.......................

คำถามบทที่ 6
1. ระบบสารสนเทศมีผลกระทบต่อกระบวนการทำงานโครงสร้างขององค์การอย่างไร
- ลดระดับขั้นของการจัดการ
- มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน
- ลดขั้นตอนการดำเนินงาน
- เปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ
- กำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่
2. องค์การเสมือนจริงมีลักษณะอย่างไร และมีข้อดีอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับองค์การโดยทั่วไป
- มีขอบเขตขององค์การไม่ชัดเจน
- ใช้เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
- มีความเป็ฯเสิศ
- มีความไว้วางใจ
- มีโอกาสทางตลาด
3. ระบสารสนเทศสนักงาน OIS แตกต่างจากระบบสารสนเทศการประมวลผลธุรกรรม TPS อย่างไร
ระบสารสนเทศสนักงาน OIS เป็นระบบสานสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ส่วนระบบสารสนเทศการประมวลผลธุรกรรม TPS เป็นระบบสารสนเทศเพื่อการประมวลผลที่รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงการให้บริการ ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมและการปฏิบัติงานเป็นประจำ
4. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบ TPS, OIS, MIS, DSS, EIS
โดยปกติแล้ว TPS จะเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานให้กัลระบบสารสนเทศอื่นๆในขณะที่ EIS จะเป็นระบบที่รับข้อมูลจากระบบสารสนเทศในระดับที่ต่ำกว่า ระบบสารสนเทศและละประเภทอาจมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในระบบย่อยๆ กันเอง

คำถามบทที่ ๖

คำถามบทที่ ๖
๑. ระบบสารสนเทศมีผลกระทบต่อกระบวนการทำงานและโครงสร้างขององค์การอย่างไรบ้าง
- ระบบสารสนเทศมีผลกระทบคือ ลดลำดับขั้นของการจัดการ เทคโนโลยีช่วยในการตัดสินใจและการประสานงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังมีความคล่องตัวในการดำเนินงาน เทคโนโลยีช่วยในการยืดหยุ่นและสามารถสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น และช่วยลดขั้นตอนในการดำเนินงาน มีการนำระบบ EDI มาใช้ มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ โดยสามารถให้ข้อมูลรานละเอียดเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่างๆในองค์การได้ตลอดเวลา ข้อสุดท้ายคือการกำหนดเขตการดำเนินงานใหม่ ระบบสารสนเทศที่เขื่อมเครือข่ายช่วยให้สามรถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์การได้ ทำให้บริษัทสามารถเข้าดูข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันกับลูกค้าได้

๒. องค์การเสมือนจริงมีลักษณะอย่างไร และมีข้อดีอย่างไรเมือเปรียบเทียบกับองค์การโดยทั่วไป
องค์การเสมือนจริง มีลักษณะดังนี้ คือ
- มีขอบเขตขององค์การไม่ชัดเจน เนื่องจากองค์การอาจจะกระจายอยู่ต่างสถานที่กัน ทำให้ยากต่อการกำหนดขอบเขตุพื้นที่
- ใช่เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้การเชื่อมโยงอิเล็กทรอนิกส์เข้าด้วยกันให้สามารถติดต่อสื่อสารและร่วมมือในการสร้างการกระจายสินค้าแก่ลูกค้าได้
- มีความเป็นเลิศ องค์การจะนำความสามรถหลักหรือความเป็นเลิศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการตลาด
- มีความไว้วางใจ มีความไว้วางใจกันว่าสามารถรับผิดชอบและทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จตามกำหนดและวัตถุประสงค์ของงาน
- มีโอกาสทางตลาด เช่น การร่วมมือกันขององค์การอิสระเป็นองค์กรเสมือนจริงเพื่อทำโครงการขนาดใหญ่ และจะกระจายตัวเมื่อโครงการเสร็จ
ข้อดีเมื่อเปรียบเทียบกับองค์การทั่วไป คือองค์การเสมือนจริงได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการแลกเปลี่ยนทักษะ และลดต้นทุน สร้างและกระจายสินค้าบริการโดยไม่มีข้อจำกัดสำหรับที่ตั้งขององค์การ

๓. ระบบสารสนเทศสามารถถูกจัดเป็นประเภทใดบ้าง อธิบายและยกตัวอย่างสารสนเทศในแต่ละประเภท
ระบบสารสนเทศจัดเป็น ๓ ประเภทได้แก่
- ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทของธุรกิจ โดยทั่วไปจะเป็นระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ ที่ประกอบด้วยระบบสารสนเทศที่จำแนกตามหน้าที่ย่อยๆหลายระบบ ตัวอย่างเช่น ระบบสารสนเทศบริหารโรงแรม จะประกอบโดยระบบสารสนเทศย่อย ได้แก่ ระบบสำรองห้องพัก ระบบบัญชี ระบบจัดการห้องพักเป็นต้น
- ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน คือแต่ละระบบสามารถประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อยๆที่มีกิจการของงานหลัก ตัวอย่างเช่น ระบบสารสนเทศจัดการทรัพยากรมนุษย์ อาจประกอบด้วยระบบย่อยๆได้แก่ ระบบจัดการข้อมูลพนักงาน ระบบสรรหาและคัดเลือก ระบบฝึกอบรม ระบบประเมินผล และระบบสวัสดิการเป็นต้น
- ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะดำเนินงาน ผู้บริหารองค์กรที่แต่ต่างกัน มีความต้องการสารสนเทศที่แตกต่างกัน ดังนั้นระบบสารสนเทศจึงถูกออกแบบมาให้มีความสอดคล้องกับลักษณะของงานเพื่อใช้ในการตัดสินใจ ยกตัวอย่างเช่นการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีก การฝากหรือถอนเงินธนาคาร การสำรองห้องพักโรงแรม การจองตั๋วเครื่องบินเป็นต้น

๔. ระบบสารสนเทศสำนักงาน แต่งต่างจากระบบสารสนเทศการประมวลผลธุรกรรมอย่างไร
- ระบบสารสนเทศการประมวลผลธุรกรรม นำมาใช้เพื่อทำการประมวลผลที่รวดเร็วลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงการให้บริการลูกค้า ระบบสารสนเทศการประมวลผลธุรกรรมทำหน้าที่บันทึกข้อมูลและทำการประมวลผล ส่วนระบบสารสนเทศสำนักงาน นำมาช่วยในการจัดทำเอกสาร รายงาน จดหมายธุรกิจการส่งข้อความ การบันทึกตารางนัดหมายและการค้นหาข้อมูลจากเว็บเพจ

๕.อธิบายความสำพันธ์ระหว่างระบบ TPS OIS MIS DSS EIS
- โดยปกติ TPS จะเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานให้กับสารสนเทศอื่นๆ ในขณะที่ EIS
จะเป็นระบบที่รับข้อมูลจากระบบสารสนเทศที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ระบบสารสนเทศแต่ละประเภทอาจมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในระบบย่อยกันเอง เช่นระบบสารสนเทศฝ่ายขายกับระบบสารสนเทศฝ่ายผลิต และระบบสารสนเทศฝ่ายจัดส่งสินค้า เป็นต้น อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ การผสมผสานระหว่างสารสนเทศประเภทต่างๆในองค์การยังมีข้อจำกัด

สรุปบทที่ ๕

สรุปบทที่ ๕

อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ในโลก มีจุดเริ่มต้นมาจากโครงการอาร์พาเน็ตที่อยู่ในความควบคุมของอาร์พา ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา โดยสนับสนุนทุนให้แก่มหาลัยและบริษัทเอกชนเพื่อทำวิจัยและพัฒนาการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย ๔ แห่งเข้ากัน และต่อมาภายหลังได้มีการพัฒนาและแลกเปลี่ยนไปใช้เครือข่ายที่ใหญ่ขึ้น เรียกว่าเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ใช้ในปัจจุบัน
สำหรับอินเทอร์เน็ตในปรเทศไทยเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโน,ยีแห่งเอเชียได้ติดต่อขอใช้บริการ e-mall กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยใช้สายโทรศัพท์ในการเชื่อมโยง ต่อมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดตั้งเครือข่ายยูยูเน็ต และมีอีกหลาสถาบันการศึกษษเข้ามาขอเชื่อมต่อกับเครือข่าย และเรียกว่าข่ายไทยเน็ต
วิธีที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อีกมี ๒ วิธี คือ เชื่อมต่อโดยตรงกับหน่วยงานที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต มีข้อดีคือเป็นการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลาและมีความเร็วสูงในการส่งข้อมูล ส่วนข้อเสียคือค่าใช้จ่ายสูง ส่วนอีกวิธีคือ การเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์ และโมเด็ม ซึ่งมีข้อดีคือเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าวิธีแรก และข้อเสียคือส่งข้อมูลช้ากว่าต่อตรงนั้นเอง ในปัจจุบันจะมีกิจกรรมที่มีผู้ใช้ บริการบนอินเทอร์เน็ตอย่างหลากหลาย เช่น การติดต่อสื่อสารแบบ e-mail การค้าขายสินค้าอินเทอร์เน็ต การศึกษาและการค้นหาข้อมูล การติดตามข่าวสารต่างๆ การค้นหางานตลอดจนการสมัครงานผ่านเว็บไซต์และกิจกรรมด้านการบันเทิงอื่นๆ ซึ่งกิจกรรมที่ได้กล่าวมาข้างต้นมักจะอยู่ในรูปแบบของเว็บเพจ ซึ่งหมายถึงเอกสารในรูปแบบสื่อประสมต่างๆ ที่ใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูล ผู้ใช้ที่ต้องการเข้าไปใช้บริการได้ต้องใช้โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ทุกครั้งโดยต้องระบุ URL ของเว็บ ไซต์ให้ถูกต้อง
บริการต่างๆที่อยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีหลายชนิด เช่น บริการรับ-ส่ง e-mail สนทนาออนไลน์ เทลเน็ต การขนถ่ายไฟล์รวมถึงการทำธุรกรรมทุกรูปแบบผ่านอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีจำแนกได้ ๕ รูปแบบ คือแบบธุรกิจกับลูกค้า แบบธุรกิจกับภาครัฐ แบบลูกค้ากับลูกค้า และแบบภาครัฐกับประชาชน สาเหตุที่มีการใช้บริการของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มากขึ้นในปัจจุบันเนื่องมาจากมีความสำคัญหลายประการ เช่น เป็นการทำธุรกิจการค้าแบบไร้พรมแดน ซึ่งไม่มีข้อจำกัดในด้านเวลา และสถานที่


...............................*****..................................


คำถามบทที่ 5
1. Instant Messaging (IM) คืออะไร สามารถสนับสนุนกระบวนการดำเนินธุรกิจได้อย่างไรบ้างและช่วยลดค้าใช้จ่ายโทรศัพท์ได้อย่างไร
การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตคือ การส่งข้อความถึงกันโดยทันทีทันใด นอกจากนี้ยังสามารถส่งสัญลักษณ์ต่างๆ อาทิ รูปภาพ ไฟล์ข้อมูลได้ด้วย
2. E-comerec แต่งต่างจาก E-business อย่างไร
E-comerec เป็นการซื้อขาย การค้า การแลกเปลี่ยนทาง Internet
ส่วน E-business มีความหมายกว้างกว่าเป็นการดำเนินกิจการทางธุรกรรม ทุกขั้นตอนโดยผ่าน Internetทั้งหมด มีการส่ง EDI
3. จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างการทำธุรกิจ
1) B2B มุ่งเน้นให้บริการกับลูกค้าที่เป็นองค์การธุรกิจด้วยกัน เช่น ผู้ผลิต-ผู้ผลิต การชำระเงินส่วนใหญ่จะผ่านธนาคาร
2) B2C ผู้ขายที่เป็นองค์การธุรกิจกับผู้ซื้อหรือลูกค้า แต่ละคนอาจเป็นการค้าปลีกแบบเหมาโหล สินค้าที่จำหน่าย เช่น หนังสือ ของเล่น นิยมการจองตั๋วเครื่องบิน
3) B2G ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างธุรกิจเอกชน กับภาครัฐ เช่น การประมูลออนไลน์ และการจัดซื้อ จัดจ้าง
4) C2C เป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน เช่นการประมูลสินค้า
5) ภาครัฐกับเอกชน GTC กิจกรรมที่เกิดขึ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่เน้นให้การบริการ กับประชาชนโดยผ่านอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การคำนวณและชำระภาษีออนไลน์ ของกรรมสรรพากร
4. จงยกตัวอย่างที่ทำให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประสบความสำเร็จและล้มเหลว
ประสบผลสำเร็จ
1. ข้อมูลข่าวสารที่ลงแต่ละครั้งทันสมัย
2. เว็บไซต์ของร้านค้าต้องมีการออกแบบให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า
3. มีการบริการหลังการขาย
4. ลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนรายการสินค้าและปริมาณที่สั่งได้
5. มีการชำระที่สะดวก ลูกค้าสามารถเลือกชำระเงินขึ้นอยู่กับความสะดวกขอกลูกค้า
ล้มเหลว
1. ข้อมูลที่ลงไม่ตรงตามความต้องการของลูกค้า
2. มีการจัดการกับการชำระเงินที่ไม่มีประสิทธิภาพ
3. ไม่มีการบริการหลังการขาย
4. ไม่มีการพัฒนารูปแบบเว็บให้น่าสนใจ
5. อินเทอร์เน็ตส่งผลต่อความสำพันธ์ระหว่างผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์
- ทำให้ผู้ผลิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น และมีความทันสมัย สามารถนำพาองค์กรประสบผลสำเร็จ มีรูปแบบใหม่ที่สามารถนำสินค้าของตัวเองเข้าไปสู่ตลาดโดยไม่ทำให้เสียเวลามาก
6. อินเตอร์เน็ตมีประโยชน์ ต่อการบริหารลูกค้าอย่างไรบ้าง
- เป็นการที่ชื้อสินค้า และบริการที่ไม่จำกัดเฉพาะรูปแบบเดิมๆ ที่ผู้ซื้อจะต้องเดินไปจำหน่าย แต่ปัจจุบัน การซื้อสินค้ามีทางเลือกอื่นมากขึ้น สามาร๔คัดเลือก และมีการเปรียบเทียบราค้าสินค้าได้จากทุกมุมโลก