วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2550

สรุปบทที่ 3 ฐานข้อมูลและคลังข้อมูล

ฐานข้อมูลและคลังข้อมูล

โครงสร้างข้อมูล
1.บิต (Bit)เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล มีสถานะเป็น 0 กับ 1
2.ไบต์(Byte)ประกอบด้วยบิตหลาย ๆ บิตมาเรียงกัน
3.เขตข้อมูล(Field)เป็นการนำข้อมูลหลายอักขระมารวมกันเป็นคำเพื่อเกิดความหมาย
4.ระเบียนข้อมูล(Record) กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความหมายสัมพันธ์กัน ถูกนำมาไว้รวมกัน
5.ไฟล์ (File)กลุ่มของระเบียนข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันถูนำมาจัดเก็บไว้ด้วยกัน

ปัญหาเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล

1.ความซ้ำซ้อนของข้อมูล
2.ความผูกพันระหว่างข้อมูลและโปรแกรม
3.การไม่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
4.การขาดความคล่องตัว
5.การขาดระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี

แนวทางในการใช้ฐานข้อมูลในการบริหารจัดการข้อมูล

1.ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
2.มีความเป็นอิสระของข้อมูล
3.สนับสนุนการใช้ข้อมูลร่วมกัน
4.มีความคล่องตัวในการใช้งาน
5.มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสูง

องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล

1.ข้อมูล
2.ฮาร์ดแวร์
3.ซอฟต์แวร์
4.ผู้ใช้

รูปแบบของฐานข้อมูล

แบบจำลองฐานข้อมูลอธิบายถึงโครงและความสร้างสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล แบบจำลองฐานข้อมูลมีหลายรูปแบบในที่นี้กล่าวถึงแบบลำดับชั้น แบบเครื่อข่าย และแบบเชิงสัมพันธ์
ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายมีการกระจายฐานข้อมูลจัดเก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องตามพื้นที่ต่างๆเพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน มีข้อดีที่มีการจัดเก็บข้อมูลมีความสอดคล้องกับลักษณะการใช้งานจริงทำให้สามรถเรียกใช้งานได้เร็ว และช่วยลดความเสี่ยงจากเก็บข้อมูลไว้ที่ส่วนกลางเพียงแห่งเดียว แต่จะมีความซับซ้อนในการประมวลผลเพื่อเรียกใช้ข้อมูล การฟื้นสภาพ และการออกแบบฐานข้อมูลมากกว่าระบบฐานข้อมูลแบบรวม และต้องอาศัยระบบสื่อสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบออบเจ็กเป็นฐานข้อมูลที่ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบันเนื่องจากสามารถจัดเก็บข้อมูลที่มีความซับซ้อน มีขนาดใหญ่ และมีความหลากหลายได้ แต่การประมวลผลรายการ ข้อทูลทั่วๆไปอาจไม่รวดเร็วเท่ากับระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ จึงมีการพัฒนาฐานข้อมูลแบบ ORDBMS โดยนำเอาข้อดีของระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์มาใช่ร่วมกับข้อเด่นหรือจุดแข็งของระบบฐานข้อมูลแบบออบเจ๊ก

คลังข้อมูล คือทีจัดเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งและหลากหลายชนิดเข้าด้วยกันเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์การ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลนี้ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีข้อมูลที่พร้อมจะนำมาประมวลผลสำหรับการสนับสนุนด้านการบริหารและตัดสินใจ โดยมีโอแลป และดาต้าไมนิ่ง เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลและการค้นหาความรู้ในคลังข้อมูล



จัดทำโดย นายนิวัฒน์ ก๋าใจ 49324228

ไม่มีความคิดเห็น: